เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2558 หน่วยการเรียนรู้: Natural Kitchen – ครัวธรรมชาติ
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
มีความรู้ความเข้าใจต่ออาหาร สามารถผลิตอาหารที่ปลอดภัยและกิน อยู่ อย่างมีคุณภาพ รวมทั้งสามารถออกแบบการกินของอาหารในรูปแบบของตนเอง (นวัตกรรมและการนำไปใช้ )ได้

Week 9

เป้าหมายรายสัปดาห์เข้าใจและสามารถอธิบายวิธีการถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ตลอดระยะเวลา เดือนได้อย่างมีคุณภาพ พร้อมทั้งสามารถนำมาประกอบเป็นอาหารเมนูต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย

Week
Input
Process
Output
Outcome







9
6-10 ก.ค. 58

โจทย์
เมนูอาหารจากเนื้อสัตว์ ที่ผ่านการถนอมในระยะเวลา 1   เดือน
Key  Question
นักเรียนคิดว่าจะสามารถนำเนื้อสัตว์ของตนเองและเพื่อนในกลุ่มไปประกอบเป็นอาหารเมนูใดได้บ้าง
เครื่องมือคิด
Show and Share
นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับเมนูอาหารจากเนื้อสัตว์ซึ่งผ่านกระบวนการถนอมอาหาร ที่หลากหลาย
Round Rubin
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเมนูอาหารที่เตรียมจะนำมาร่วมกันทำอาหาร
Round table
เขียนกระบวนการประกอบอาหารตามแต่ละเมนูที่นำเสนอ
Brainstorm
- ระดมความคิดเกี่ยวกับเมนูอาหารจากเนื้อสัตว์ซึ่งผ่านกระบวนการถนอมอาหาร ที่หลากหลาย
- ระดมความคิดเกี่ยวกับกระบวนการถ่ายทำรายการอาหาร
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- เนื้อสัตว์ที่ผ่านการถนอมในกระบวนการต่างๆ ในระยะเวลา เดือน
- อุปกรณ์การทำอาหาร
- กล้องถ่ายทำรายการ
- คอมพิวเตอร์ / โปรแกรมตัดต่อVegas

วันจันทร์
ชง นักเรียนแต่ละคนนำเนื้อของตนเองมาให้เพื่อนร่วมสังเกต
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรจากเนื้อที่นำมา(ทั้งของตนเองและเพื่อน)?”
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนแต่ละคนมีวิธีการหมักเนื้อของตนเองอย่างไร?”
เชื่อม นักเรียนแต่ละคนนำเสนอ ขั้นตอนกระบวนการถนอมเนื้อสัตว์ของตนเองให้เพื่อนและคุณครูร่วมรับฟัง
วันอังคาร
ชง แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละเท่าๆ กัน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าจะสามารถนำเนื้อสัตว์ของตนเองและเพื่อนในกลุ่มไปประกอบเป็นอาหารเมนูใดได้บ้าง?”
เชื่อม นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอเมนูอาหารของตนเอง พร้อมวิธีการนำเสนอเมนูอาหารในรูปแบบรายการ
- นักเรียนแต่ละร่วมพูดคุยวางแผนการทำงาน พร้อมแบ่งหน้าที่ให้เพื่อนๆ ในกลุ่ม สำหรับกิจกรรมถ่ายทำอาหาร
วันพุธ
ใช้ นักเรียนแต่ละกลุ่มเตรียมอุปกรณ์ในการปรุงอาหาร ตามเมนูที่แต่ละกลุ่มสนใจ
พร้อมทั้งถ่ายทำรายการอาหารควบคู่ไปด้วย
เชื่อม:  นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนออาหารที่ปรุง
เสร็จเรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งให้เพื่อนและคุณครูได้ร่วมชิม แล้วเสนอความคิดเห็น
- นักเรียนแต่ละคนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำอาหารลงในสมุดเล่มเล็ก
ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ เกี่ยวกับวิธีการถนอมอาหารและการประกอบการอาหารประเภทต่างๆ
วันศุกร์
ใช้:  นักเรียนแต่ละกลุ่มนำข้อมูลที่ได้จากการถ่ายทำรายการอาหาร ไปดำเนินการตัดต่อ เพื่อนำเสนอในครั้งต่อไป
 นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- นำเสนอ ขั้นตอนกระบวนการถนอมเนื้อสัตว์ของตนเอง
- นำเสนอเมนูอาหารของตนเอง พร้อมวิธีการนำเสนอเมนูอาหารในรูปแบบรายการ
- ร่วมพูดคุยวางแผนการทำงาน พร้อมแบ่งหน้าที่ให้เพื่อนๆ ในกลุ่ม สำหรับกิจกรรมถ่ายทำอาหาร
- เตรียมอุปกรณ์ในการปรุงอาหาร ตามเมนูที่แต่ละกลุ่มสนใจ พร้อมทั้งถ่ายทำรายการอาหาร
- อภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ เกี่ยวกับวิธีการถนอมอาหารและการประกอบการอาหารประเภทต่างๆ
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำอาหารลงในสมุดเล่มเล็ก
ชิ้นงาน
- สมุดเล่มเล็ก
- คลิปตัดต่อรายการ
- เมนูอาหาร และStory Board รายการ
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายวิธีการถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ตลอดระยะเวลา เดือนได้อย่างมีคุณภาพ พร้อมทั้งสามารถนำมาประกอบเป็นอาหารเมนูต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย
ทักษะ
ทักษะICT
สืบค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการถนอมอาหารในแบบต่างๆ
ทักษะการสื่อสาร
นำเสนอชิ้นงานเกี่ยวกับกระบวนการถนอมอาหารแต่ละแบบ
 ทักษะการเรียนรู้
-สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงความเข้าใจด้านการถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การเลือกใช้เครื่องมือคิดที่หลากหลายในกระบวนการออกแบบเมนูอาหารจากเนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการถนอมอาหารที่แตกต่างของคนในกลุ่ม
ทักษะชีวิต
- การวางแผนในการทำงานกลุ่มเกี่ยวกับเมนูอาหารจากเนื้อสัตว์ซึ่งผ่านกระบวนการถนอมอาหาร ที่หลากหลายและการถ่ายทำรายการอาหาร
- สามารถวิเคราะห์ความแตกต่างของกรรมวิธีถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ได้อย่างหลากหลาย
คุณลักษณะ
สร้างสรรค์และนำเสนอเมนูอาหารผ่านกระบวนการถ่ายทำรายการได้
 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


 ภาพกิจกรรมหลังการเรียนรู้
_สืบเนื่องมาจากวันอังคารกับวันพฤหัสฯที่ผ่านมา ครูน้ำผึ้งมาสอนเกี่ยวกับพันธะเคมีและโครงสร้างโมเลกุล
ต่อเนื่องจากข้อมูลดังกล่าว 

เด็กๆได้ท่องตารางธาตุเป็นประจำเพราะเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต่อเนื่องมา เรียนรู้จากความยากและสิ่งใหม่ที่เด็กๆท้าทาย 
รวมถึงผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการเรียนรู้กับลูกๆในเรียนรู้วิทยาศาสตร์
_เด็กๆ หาข้อมูลโครงสร้างร่างกายมนุษย์และโครงสร้างร่างกายของปลาและนำสิ่งที่ได้มานำมาจัดกระทำข้อมูลละคุณครูซักถามตรวจสอบความเข้าใจ

แปลงนาข้าวสินเหล็กและท่อปลูปข้าว 4 เมล็ด ให้ได้ 2,000 เมล็ด-ในพื้นที่จำกัด
_ในสัปดาห์นี้ฝนเริ่มตกเกือบตลอดสัปดาห์ ในนามีสัตว์น้ำมากมายมีลูกปลาช่อน กบ 
ส่วนที่เด็กๆ ก็ได้นำสัตว์น้ำมาปล่อยมี ปลาไหล ปลาช่อน และปลาดุก
เพราะในกิจกรรมผ่าตัดปลาครูให้นักเรียนเตรียมปลามาด้วย มีพี่มายด์กับพี่คอปนำมาเป็นมาด้วย พวกเราก็เลยสงสารปลานำไปปล่อยลงแปลงนา








ช่วงบ่ายของวันศุกร์ปลาไหลกับปลาดุกตาย เนื่องจากปรับตัวกับสภาพน้ำไม่ทันและน้ำร้อนบางจุดเกินไป
เด็กๆและคุณครูยังได้ช่วยกันย้ายข้าวในจุดที่ข้าวห่างกันอีกครั้งในวันพฤหัสบดี และอีกกลุ่มช่วยถอนหญ้าบริเวณโดยรอบแปลงนา ข้าวของพี่ปุณเกิดเพียง 3 ต้น เพื่อนๆ จึงช่วยกันย้ายข้าวและดูแลระบบท่อปลูกช่วยกัน ส่วนในอีกหลายๆ ท่อปลูก ถูกควาย/วัวกินข้าวของเด็กๆประมาณ 7-8 ท่อ
หลายคนสังเกตดห็นความเปลี่ยนแปลงจากข้าวที่ควายกิน 
ทุกคนร่วมตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับควาย/วัวกินข้าว "ข้าวที่วัว/ความยกินอาจจะทำให้ข้าวแตกกอมากกว่าปรกติ" หลังจากนั้นเด็กๆร่วมสังเกตุกเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ และเปรียบเทียบระหว่างท่อมีน้ำกับท่อดินแห้ง_ท่อข้าวที่เกิดขึ้นอย่างเป็นไปกับท่อข้าวที่ถูกความ/วัวกัดกิน ทุกคนแชร์ปัญหาที่พบก่อนบันทึกความคืบหน้าทุกๆ สัปดาห์

PBL-ครัวธรรมชาติ
_นักเรียนมีกิจกรรม"ผ่าตัดปลา" เพื่อจะหาโครงสร้างการทำงานของปลา สังเกตอวัยวะภายใน/ภายนอก ตัวผู้/ตัวเมีย
เปรียบเทียบเพื่อเรียนรู้ทุกส่วนขององค์ประกอบต่างๆของอวัยวะ






ก่อนหน้าวันที่นักเรียนจะได้ทำกิจกรรมActive Learnning-ผ่าตัดปลา
ทุกคนได้สืบค้นหาข้อมูลและนำข้อมูลที่ได้มาจัดกระทำข้อมูลต่างๆ และครูช่วยจัดระบบข้อมูลต่างๆ 
หลายๆคนดูงานตามบอร์ดของรุ่นพี่ที่ทำไว้ แต่ก็ต้องกรองข้อมูลต่างๆ เสียก่อน






พอใกล้วันผ่าตัดปลาครูณีเข้ามาช่วยพูดคุย แบ่งบทบาทหน้าที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งบทบาทหน้าที่จัดเตรียมอุปกรณ์มาในวันถัดมาคือวันพุธ

พอถึงกำหนดวัน/เวลา นักเรียนลงมือทำกิจกรรมผ่าตัดปลาร่วมกันใต้ถุน ม.1 โดยครูณีกับครูป้อมดูแลภาพรวมในการำกิจกรรม ขณะที่แต่ละคนทำกิจกรรมก็จะมีเพื่อนอีกคนจดบันทึกผล วาดภาพโครงสร้างปลา และยังนำชิ้นส่วนเนื้อของ
ปลาหรืออวัยวะต่างๆของปลามาส่องกล้องจุลทรรศน์เพื่อดูภาพที่ขยายส่วนต่างๆของชิ้นส่วนนั้น










จากนั้นทุกช่วยกันเก็บอุปกรณ์ต่างๆ และทุกคนนำมาแลร์ในวงเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่แต่ละคนได้เรียนรู้ โดยครูช่วยตั้งคำถามเพื่อให้แต่ละคนได้อธิบาย ถ่ายทอดความเข้าใจและนำสิ่งใหม่ๆจากกิจกรมมไปปรับใช้ของเด็กๆ แต่ละคน
ท้ายสุดของกิจกรรมนักเรียนจะได้สรุปความรู้ความเข้าใจลงในกระดาษ 100 ปอนด์ 
โดยเป็นชิ้นงานผ่านการเปรียบเทียบร่างกายคนกับปลา โดยแต่ละคนต้องขมวดความเข้าใจต่างๆ เพื่อมาจัดกระทำชิ้นงาน

ส่วกิจกรรมบันทึกการกิน.
_ในสัปดาหานี้นักเรียนทำเขียนบันทึกการกินถึงวันศุกร์ตอนเที่ยง 
เนื่องมาจากหลายสัปดาห์ที่ผ่านๆ มางานที่นำมาแชร์กันทุกๆ สัปดาห์ และกลุ่มนักเรียนชายนอนบ้านมัธยมฯอีกด้วย
และในวันเสาร์เด็กๆต้องมีกิจกรรมร่วมกับครูอีกหลายอย่าง

_นักเรียนได้สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์



1 ความคิดเห็น:

  1. _สืบเนื่องมาจากวันอังคารกับวันพฤหัสฯที่ผ่านมา ครูน้ำผึ้งมาสอนเกี่ยวกับพันธะเคมีและโครงสร้างโมเลกุล
    ต่อเนื่องจากข้อมูลดังกล่าว
    เด็กๆได้ท่องตารางธาตุเป็นประจำเพราะเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต่อเนื่องมา เรียนรู้จากความยากและสิ่งใหม่ที่เด็กๆท้าทาย
    รวมถึงผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการเรียนรู้กับลูกๆในเรียนรู้วิทยาศาสตร์
    _เด็กๆ หาข้อมูลโครงสร้างร่างกายมนุษย์และโครงสร้างร่างกายของปลาและนำสิ่งที่ได้มานำมาจัดกระทำข้อมูลละคุณครูซักถามตรวจสอบความเข้าใจ

    แปลงนาข้าวสินเหล็กและท่อปลูปข้าว 4 เมล็ด ให้ได้ 2,000 เมล็ด-ในพื้นที่จำกัด
    _ในสัปดาห์นี้ฝนเริ่มตกเกือบตลอดสัปดาห์ ในนามีสัตว์น้ำมากมายมีลูกปลาช่อน กบ
    ส่วนที่เด็กๆ ก็ได้นำสัตว์น้ำมาปล่อยมี ปลาไหล ปลาช่อน และปลาดุก
    เพราะในกิจกรรมผ่าตัดปลาครูให้นักเรียนเตรียมปลามาด้วย มีพี่มายด์กับพี่คอปนำมาเป็นมาด้วย พวกเราก็เลยสงสารปลานำไปปล่อยลงแปลงนา
    ช่วงบ่ายของวันศุกร์ปลาไหลกับปลาดุกตาย เนื่องจากปรับตัวกับสภาพน้ำไม่ทันและน้ำร้อนบางจุดเกินไป
    เด็กๆและคุณครูยังได้ช่วยกันย้ายข้าวในจุดที่ข้าวห่างกันอีกครั้งในวันพฤหัสบดี และอีกกลุ่มช่วยถอนหญ้าบริเวณโดยรอบแปลงนา ข้าวของพี่ปุณเกิดเพียง 3 ต้น เพื่อนๆ จึงช่วยกันย้ายข้าวและดูแลระบบท่อปลูกช่วยกัน ส่วนในอีกหลายๆ ท่อปลูก ถูกควาย/วัวกินข้าวของเด็กๆประมาณ 7-8 ท่อ
    หลายคนสังเกตดห็นความเปลี่ยนแปลงจากข้าวที่ควายกิน
    ทุกคนร่วมตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับควาย/วัวกินข้าว "ข้าวที่วัว/ความยกินอาจจะทำให้ข้าวแตกกอมากกว่าปรกติ" หลังจากนั้นเด็กๆร่วมสังเกตุกเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ และเปรียบเทียบระหว่างท่อมีน้ำกับท่อดินแห้ง_ท่อข้าวที่เกิดขึ้นอย่างเป็นไปกับท่อข้าวที่ถูกความ/วัวกัดกิน ทุกคนแชร์ปัญหาที่พบก่อนบันทึกความคืบหน้าทุกๆ สัปดาห์

    PBL-ครัวธรรมชาติ
    _นักเรียนมีกิจกรรม"ผ่าตัดปลา" เพื่อจะหาโครงสร้างการทำงานของปลา สังเกตอวัยวะภายใน/ภายนอก ตัวผู้/ตัวเมีย
    เปรียบเทียบเพื่อเรียนรู้ทุกส่วนขององค์ประกอบต่างๆของอวัยวะ
    ก่อนหน้าวันที่นักเรียนจะได้ทำกิจกรรมActive Learnning-ผ่าตัดปลา
    ทุกคนได้สืบค้นหาข้อมูลและนำข้อมูลที่ได้มาจัดกระทำข้อมูลต่างๆ และครูช่วยจัดระบบข้อมูลต่างๆ
    หลายๆคนดูงานตามบอร์ดของรุ่นพี่ที่ทำไว้ แต่ก็ต้องกรองข้อมูลต่างๆ เสียก่อน
    พอใกล้วันผ่าตัดปลาครูณีเข้ามาช่วยพูดคุย แบ่งบทบาทหน้าที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งบทบาทหน้าที่จัดเตรียมอุปกรณ์มาในวันถัดมาคือวันพุธ

    พอถึงกำหนดวัน/เวลา นักเรียนลงมือทำกิจกรรมผ่าตัดปลาร่วมกันใต้ถุน ม.1 โดยครูณีกับครูป้อมดูแลภาพรวมในการำกิจกรรม ขณะที่แต่ละคนทำกิจกรรมก็จะมีเพื่อนอีกคนจดบันทึกผล วาดภาพโครงสร้างปลา และยังนำชิ้นส่วนเนื้อของปลาหรืออวัยวะต่างๆของปลามาส่องกล้องจุลทรรศน์เพื่อดูภาพที่ขยายส่วนต่างๆของชิ้นส่วนนั้น
    จากนั้นทุกช่วยกันเก็บอุปกรณ์ต่างๆ และทุกคนนำมาแลร์ในวงเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่แต่ละคนได้เรียนรู้ โดยครูช่วยตั้งคำถามเพื่อให้แต่ละคนได้อธิบาย ถ่ายทอดความเข้าใจและนำสิ่งใหม่ๆจากกิจกรมมไปปรับใช้ของเด็กๆ แต่ละคน
    ท้ายสุดของกิจกรรมนักเรียนจะได้สรุปความรู้ความเข้าใจลงในกระดาษ 100 ปอนด์
    โดยเป็นชิ้นงานผ่านการเปรียบเทียบร่างกายคนกับปลา โดยแต่ละคนต้องขมวดความเข้าใจต่างๆ เพื่อมาจัดกระทำชิ้นงาน

    ส่วกิจกรรมบันทึกการกิน.
    _ในสัปดาหานี้นักเรียนทำเขียนบันทึกการกินถึงวันศุกร์ตอนเที่ยง
    เนื่องมาจากหลายสัปดาห์ที่ผ่านๆ มางานที่นำมาแชร์กันทุกๆ สัปดาห์ และกลุ่มนักเรียนชายนอนบ้านมัธยมฯอีกด้วย
    และในวันเสาร์เด็กๆต้องมีกิจกรรมร่วมกับครูอีกหลายอย่าง

    _นักเรียนได้สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

    ตอบลบ