เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2558 หน่วยการเรียนรู้: Natural Kitchen – ครัวธรรมชาติ
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
มีความรู้ความเข้าใจต่ออาหาร สามารถผลิตอาหารที่ปลอดภัยและกิน อยู่ อย่างมีคุณภาพ รวมทั้งสามารถออกแบบการกินของอาหารในรูปแบบของตนเอง (นวัตกรรมและการนำไปใช้ )ได้

week 5

เป้าหมายรายสัปดาห์เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการตรวจสอบสารอาหารประเภทแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) ในใบพืช และอาหารประเภทต่างๆ ได้
Week
Input
Process
Output
Outcome







5
8-12 มิ.ย. 58

โจทย์
 สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
Key  Questions
- นักเรียนรู้สึกอย่างไร ในขณะที่อมข้าวไว้ในปาก
- นักเรียนมีวิธีการตรวจสอบแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) ในอาหารได้อย่างไร
เครื่องมือคิด
Show and Share
นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการตรวจสอบสารอาหารประเภทแป้ง
(คาร์โบไฮเดรต)ที่อยู่ในใบพืชและอาหารประเภทต่างๆ
Round Rubin
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการตรวจสอบสารอาหาร
Brainstorm
ระดมความคิดเกี่ยวกับกระบวนการทดลองสารอาหารประเภทแป้ง
(คาร์โบไฮเดรต)ที่อยู่ในใบพืชและอาหารประเภทต่างๆ
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- อุปกรณ์ตรวจสอบสารอาหารประเภทแป้ง(คาร์โบไฮเดรต)ที่อยู่ในใบพืชและอาหารประเภทต่างๆ
- ภาพ “แป้งจากข้าว”
- ใบพืชสำหรับการตรวจสอบ อาทิเช่น ใบถั่ว, ใบกล้วย, ใบอัญชัน, ใบข้าว ฯลฯ โดยอยู่ในสภาพ(กลางแจ้ง, ที่มืด) 

วันจันทร์
เชื่อม ครูและนักเรียนได้ร่วมทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเกี่ยวกับสารอาหารและวิธีการตรวจสอบสารอาหารประเภทต่างๆ
ชงครูนำภาพ “แป้งจากข้าว” และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กต่างๆ ที่ถ่ายได้จากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนมาให้นักเรียนร่วมสังเกต
วันอังคาร
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “จากสิ่งที่ได้ดูนักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?
เชื่อม นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู
วันพุธ
ชง ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนรู้สึกอย่างไร ในขณะที่อมข้าวไว้ในปาก?
เชื่อม นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ชง ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “จากการสืบค้นข้อมูล นักเรียนมีวิธีการตรวจสอบแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) ในอาหารได้อย่างไร?
Flip classroom
วันศุกร์
เชื่อม นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) ในอาหาร
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง อาทิเช่น ใบพืชประเภทต่างๆ โดยอยู่ในสภาพ(กลางแจ้ง, ที่มืด)
- ทดลองตรวจสอบสารอาหารประเภทแป้ง(คาร์โบไฮเดรต) ในใบพืช
- ร่วมสังเกตและบันทึกผลการทดลองลงในสมุดเล่มเล็ก พร้อมเปรียบเทียบความแตกต่างของใบพืชแต่ละประเภท ร่วมถึงสถานที่อยู่ของใบพืชนั่นๆ
- ร่วมนำเสนออภิปรายสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทดลอง
- สรุปสิ่งที่ได้ตรวจสอบสิ่งที่ได้เรียนรู้แป้ง(คาร์โบไฮเดรต) ในรูปแบบการ์ตูนช่อง

ชิ้นงาน
- สร้างชิ้นงานตามความถนัดของผู้เรียน เช่น Mind Mapping, ชาร์ตความรู้, การ์ตูนช่อง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
กระบวนการตรวจสอบสารอาหารประเภทแป้ง   (คาร์โบไฮเดรต) ในใบพืช และอาหารประเภทต่างๆ
ทักษะ
ทักษะชีวิต
การทำงานกลุ่มการช่วยเหลืองานกันและกันเกี่ยวกับวิธีการทดลองเพื่อตรวจสอบสารอาหารประเภทแป้ง(คาร์โบไฮเดรต) ในใบพืช
ทักษะICT
สืบค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการทดลองเพื่อตรวจสอบสารอาหารประเภทแป้ง(คาร์โบไฮเดรต) ในใบพืช
ทักษะการสื่อสาร
นำเสนอชิ้นงานเกี่ยวกับวิธีการทดลองเพื่อตรวจสอบสารอาหารประเภทแป้ง(คาร์โบไฮเดรต) ในใบพืช
ทักษะการเรียนรู้
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องเกี่ยวกับการแยกประเภทขอสารอาหารที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้โดยวิธีการทดลอง
- การเลือกใช้เครื่องมือคิดที่หลากหลายในกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อวิเคราะห์สารอาหารในใบพืช
- สามารถวิเคราะห์ผลการทดลองเกี่ยวกับสารอาหารประเภทแป้ง(คาร์โบไฮเดรต) ในใบพืชได้

คุณลักษณะ
สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากกระบวนการทดลอง
 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ภาพกิจกรรมการเรียนรู้
_ในสัปดาห์นี้นักเรียนสังเกตเห็นต้นกล้าที่เพาะเติบโตมากแล้ว และเมื่อคืนวันเสาร์-อาทิตย์ที่ผ่านมาฝนตกหนักมากๆ นักเรียนและครูจึงร่วมกันวางแผนเตรียมปลูกข้าวในคาบPBL และปลูกต้นกล้วย สาวน้อยปะแป้ง และขิงเหลือง ฯลฯ
            นักเรียนชาย-หญิง ทุกคนลงมือช่วยกันขุดคันนา ปรับนาดินและเตรียมกล้าพร้อมยอดและโยนกล้าลงแปลงนา
_ส่วนสัญลักษณ์รุ่นรูปเลข ๑ กับคำ ONENESS ตอนนี้ได้ข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่(สีดำอมม่วง)มาจากบ้านพี่มิลล์ ตอนนี้ผสมเข้ากับพันธุ์ข้าวเล็บนกที่เคยนำลงก่อนหน้านี้ผสมเข้ากันเรียบร้อยแล้ว
จากนั้นนักเรียนลงกล้าใน 2 กระด้ง ที่เพาะไว้ผ่านไป 16 วัน ถ้าหากส่วนไหนของแปลนาเป็นดอน(สูงและขาดน้ำไปถึง) นักเรียนจะทำนาหลุมแล้วหยอดต้นกล้าลงไป ส่วนนาดำจะเป็นส่วนที่มีน้ำขัง(ต่ำและน้ำท่วมขัง) ส่วนนาโยนเป็นส่วนที่นักเรียนสามารุดำนาและโยนต้นกล้าลงไปส่วนกลางได้ ทุกคนขะมักเขม้นอยู่ในบริเวณแปลงนาเกือบ 2 ชั่วโมงจนนาดำเสร็จสมบูรณ์
















แล้วนักเรียนได้ไปดูท่อปลูกข้าวของแต่ละคน ข้าว 4 เมล็ด ของนักเรียนเริ่มงอกแล้วกว่า 70% ส่วนของบางท่อขาดน้ำ บางท่อข้าวไม่งอกเลย บางท่อเพาะต้นกล้าไว้สำรองเกิน 4 เมล็ด ฯลฯ
            ครูให้นักเรียนถอดบทเรียนจากการทำนาผ่านบทความ “ทำไม? เราจึงได้เรียนรู้การปลูกข้าว/ทำนา” นักเรียนเขียนถ่ายทอดสร้างสรรค์ผ่านบทความและนำเสนอต่อครูและเพื่อนๆ










นักเรียนยังทำงานในส่วนPBL หลักยังไม่เสร็จเนื่องจากได้สับเปลี่ยนกิจกรรมในช่วง 4 สัปดาห์แรก แต่นักเรียนได้โจทย์การบ้านทุกวัน และนำมาแชร์กันอย่างต่อเนื่อง ทุกคนที่ได้ทำชิ้นงานผ่านเครื่องมือคิดต่างๆมารวมเป็นกลุ่มใหญ่ลงในA3 
















เสร็จเกือบทุกกลุ่มแล้ว แต่พี่ติทำงานเดี่ยวเนื่องจากมี 17 คน 

สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

1 ความคิดเห็น:

  1. _ในสัปดาห์นี้นักเรียนสังเกตเห็นต้นกล้าที่เพาะเติบโตมากแล้ว และเมื่อคืนวันเสาร์-อาทิตย์ที่ผ่านมาฝนตกหนักมากๆ นักเรียนและครูจึงร่วมกันวางแผนเตรียมปลูกข้าวในคาบPBL และปลูกต้นกล้วย สาวน้อยปะแป้ง และขิงเหลือง ฯลฯ
    นักเรียนชาย-หญิง ทุกคนลงมือช่วยกันขุดคันนา ปรับนาดินและเตรียมกล้าพร้อมยอดและโยนกล้าลงแปลงนา
    _ส่วนสัญลักษณ์รุ่นรูปเลข ๑ กับคำ ONENESS ตอนนี้ได้ข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่(สีดำอมม่วง)มาจากบ้านพี่มิลล์ ตอนนี้ผสมเข้ากับพันธุ์ข้าวเล็บนกที่เคยนำลงก่อนหน้านี้ผสมเข้ากันเรียบร้อยแล้ว
    จากนั้นนักเรียนลงกล้าใน 2 กระด้ง ที่เพาะไว้ผ่านไป 16 วัน ถ้าหากส่วนไหนของแปลนาเป็นดอน(สูงและขาดน้ำไปถึง) นักเรียนจะทำนาหลุมแล้วหยอดต้นกล้าลงไป ส่วนนาดำจะเป็นส่วนที่มีน้ำขัง(ต่ำและน้ำท่วมขัง) ส่วนนาโยนเป็นส่วนที่นักเรียนสามารุดำนาและโยนต้นกล้าลงไปส่วนกลางได้ ทุกคนขะมักเขม้นอยู่ในบริเวณแปลงนาเกือบ 2 ชั่วโมงจนนาดำเสร็จสมบูรณ์

    แล้วนักเรียนได้ไปดูท่อปลูกข้าวของแต่ละคน ข้าว 4 เมล็ด ของนักเรียนเริ่มงอกแล้วกว่า 70% ส่วนของบางท่อขาดน้ำ บางท่อข้าวไม่งอกเลย บางท่อเพาะต้นกล้าไว้สำรองเกิน 4 เมล็ด ฯลฯ
    ครูพานักเรียนคัดแยกข้าว 4 สายพันธุ์อีกครั้ง เพื่อเก็บข้อมูลพื้นฐานตัวอย่าง และแกะเปลือกข้าวออกดูและสังเกตลักษณะความแตกต่างของแต่ละชนิด ก่อนให้นักเรียนเพาะต้นกล้าในวันที่ 10 มิ.ย. 58 พร้อมกัน 4 สายพันธุ์เพื่อติดตามผลการเจริญเติบโต
    ครูให้นักเรียนถอดบทเรียนจากการทำนาผ่านบทความ “ทำไม? เราจึงได้เรียนรู้การปลูกข้าว/ทำนา” นักเรียนเขียนถ่ายทอดสร้างสรรค์ผ่านบทความและนำเสนอต่อครูและเพื่อนๆ
    _นักเรียนยังทำงานในส่วนPBL หลักยังไม่เสร็จเนื่องจากได้สับเปลี่ยนกิจกรรมในช่วง 4 สัปดาห์แรก แต่นักเรียนได้โจทย์การบ้านทุกวัน และนำมาแชร์กันอย่างต่อเนื่อง ทุกคนที่ได้ทำชิ้นงานผ่านเครื่องมือคิดต่างๆมารวมเป็นกลุ่มใหญ่ลงในA3
    เสร็จเกือบทุกกลุ่มแล้ว แต่พี่ติทำงานเดี่ยวเนื่องจากมี 17 คน ก่อนที่ทุกกลุ่มจะได้นำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทสารอาหารต่อครูและเพื่อนๆ กอนที่ครูจะให้โจทย์ใหม่เกี่ยวกับการตรวจสอบสารอาหารแต่ละประเภท โดยครูแบ่งนักเรียนคละกันเพื่อหาวิธีการตรวจสอบสารอาหารแต่ละหมู่ และยกตัวอย่างกรณีพร้อมด้วย
    นักเรียนยังติดตามผลบันทึกการกินอย่างต่อเนื่อง(การบ้าน) แล้วนักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

    ตอบลบ