เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2558 หน่วยการเรียนรู้: Natural Kitchen – ครัวธรรมชาติ
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
มีความรู้ความเข้าใจต่ออาหาร สามารถผลิตอาหารที่ปลอดภัยและกิน อยู่ อย่างมีคุณภาพ รวมทั้งสามารถออกแบบการกินของอาหารในรูปแบบของตนเอง (นวัตกรรมและการนำไปใช้ )ได้

Week 2

เป้าหมายรายสัปดาห์  เข้าใจและเห็นผลกระทบจากสิ่งต่างๆต่อการผลิตอาหารที่ปลอดภัยและเพียงพอต่อความต้องการของมนุษย์ได้ และเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้ พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบได้
Week
Input
Process
Output
Outcome







2
18-22
 พ.ค. 58

โจทย์
- สร้างแรงบันดาลใจ
วางแผนออกแบบการเรียนรู้
Key  Questions
- นักเรียนคิดว่าปัญจัยหลักที่มีผลต่อการสร้างอาหารที่ปลอดภัยและเพียงพอ คืออะไร และส่งผลอย่างไร?
จากเรื่องที่ได้ดูนักเรียนได้เรียนรู้อะไร? รู้สึกอย่างไร? และเกี่ยวข้องกับตนเองอย่างไร?
- นักเรียนต้องการเรียนรู้เรื่องอะไร?
นักเรียนคิดว่าหัวข้อหน่วย ที่น่าสนใจควรเป็นอย่างไร ?

เครื่องมือคิด
Round Rubin
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดูคลิปVDO
Round table
เขียนความคิดเห็นเกี่ยวกับ การดูคลิปVDO
Show and Share
นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการดูคลิปVDO
Card & Chart
เรื่องที่ต้องการเรียนรู้
Think  Pair Share
สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากรู้
Blackboard  Share
การตั้งชื่อ หน่วยการเรียนรู้
Brainstorms
ระดมความคิดเห็นเพื่อออกแบบปฏิทินการเรียนรู้
Mind  Mapping
สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- สารคดี ถ้าอาหารหมดโลก
บรรยากาศในห้องเรียน
- คลิปวีดีโอ กบนอกกะลา “ ตอน ไขปริศนาปลากระป๋อง” ห้องเรียน
- กระดาษสี ขนาดครึ่ง A4
- กระดาษชาร์ต
วันจันทร์
ชง :  ครูคลิปวีดีโอ กบนอกกะลา “ ตอน ไขปริศนาปลากระป๋อง”  ซึ่งเล่าถึงที่มาของปลากระป๋องตั้งแต่ต้นกำเนิดจนกระทั่งถูกบรรจุอยู่ในกระป๋องและมีจำหน่ายทั่วไป
เชื่อม : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู
ชง ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “เมื่อพูดถึงอาหาร นักเรียนเห็นอะไร?   รู้สึกอย่างไร? และเกี่ยวข้องกับตนเองอย่างไร?”
เชื่อม นักเรียนแต่ละคนเขียนแสดงความคิดเห็นจากคำถามข้างตน
- นักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนและนำเสนอสิ่งที่ตนเองเขียน
วันอังคาร
ชง ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนต้องการเรียนรู้เรื่องอะไร?”
เชื่อม : ครูแจกกระดาษการ์ดให้นักเรียนแต่ละคน โดยให้นักเรียนเขียนเรื่องที่อยากเรียนรู้ โดย 1 เรื่อง ต่อการ์ด 1 แผ่น (Card & Chart)
- ครูและนักเรียนร่วมกันจัดหมวดหมู่เรื่องที่ต้องการศึกษา
- นักเรียนเลือกหัวข้อหน่วยการเรียน
วันพุธ
ชง :  ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าหัวข้อหน่วยที่น่าสนใจควรเป็นอย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น และ ร่วมกันตั้งชื่อหัวข้อหน่วย โดยใช้วิธีการ Blackboard  Share
- นักเรียนเขียนสิ่งที่รู้แล้วกับสิ่งที่อยากรู้
Think Pair Share )
ใช้นักเรียนร่วมกันนำสิ่งที่อยากเรียนรู้มาออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ลงในกระดาษชาร์ต และเขียนสรุปองค์ความรู้ ก่อนการเรียนรู้ในรูปแบบ Mind  Mapping
วันศุกร์
เชื่อม ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- ดูคลิปวีดีโอ กบนอกกะลา “ ตอน ไขปริศนาปลากระป๋อง
 - แบ่งกลุ่มเพื่อทำงานเกี่ยวกับสิ่งที่แต่ละคนได้เรียนรู้
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิงที่ได้เรียนรู้
- อภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับคลิปวีดีโอ
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเลือกชื่อหน่วยการเรียนรู้และออกแบบปฏิทินการเรียนรู้


ชิ้นงาน
สรุปสิ่งที่ได้จากการดูสารคดี
- บทความวิเคราะห์จากสิ่งที่ได้เรียนรู้จากอาหาร
- ชื่อหน่วยการเรียนรู้
สิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้เกี่ยวกับหัวข้อหน่วย
ปฏิทินการเรียนรู้
- Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนการเรียนรู้
  - สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและเห็นผลกระทบจากสิ่งต่างๆต่อการผลิตอาหารที่ปลอดภัยและเพียงพอต่อความต้องการของมนุษย์   และเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้พร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบได้

ทักษะ
ทักษะชีวิต
การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
เข้าใจและมีเป้าหมายในการเรียนรู้สิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม
ทักษะการเรียนรู้
 เรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานร่วมกับเพื่อนๆ ปรึกษาเลือกหัวข้อหน่วยการเรียนรู้และช่วยเหลือซึงกันและกันในขณะที่ทำงาน
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มศึกษาเกี่ยวกับการเสนอชื่อหัวข้อหน่วย

คุณลักษณะ
สร้างสรรค์ปฏิทินการเรียนรู้
 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

 ภาพกิจกรรมหลังการเรียนรู้
   จากนั้นนักเรียนได้โจทย์ “ปลูกข้าวสินเหล็ก เมล็ด ให้ได้ 2,000 เมล็ด ในพื้นที่จำกัด”









นักเรียนทุกคนไปเลือกท่อปลูกของตนเอง และสืบค้นข้อมูลจากการสอบถามผู้รู้(ผู้ปกครอง) 

เลือกวิธีปรุงดินของแต่ละคน ในระหว่างที่นักเรียนทำงานดังกล่าว ทุกคนช่วยเหลืองานกันและกันเป็นอย่างดี หลายคนช่วยขนดินให้ครูป้อมกับครูจุลตนท่อของทุกคนเสร็จเพียงเวลา ชั่วโมงครึ่ง



สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์




1 ความคิดเห็น:

  1. คุณครูให้โจทย์นักเรียน “ปลูกข้าวสินเหล็ก 4 เมล็ด ให้ได้ 2,000 เมล็ด ในพื้นที่จำกัด” ตั้งแต่กระบวนคัดเมล็ดพันธุ์ ศึกษาข้อมูลข้าว เตรียมดินในท่อของแต่ละคน ฯลฯ และยังรวมถึงแปลงนาหน้าบ้าน ม.1 นักเรียนแต่ละคนต้องได้ลงมือปฏิบัติร่วมกับผู้ปกครองในตลอดปีการศึกษานี้(กิจกรรมPBL หลัก อาจยืดหยุ่นตามกิจกรรมปลูกข้าว) หลังจากทุกคนได้โจทย์
    จากนั้น..
    นักเรียนทุกคนไปเลือกท่อปลูกของตนเอง และสืบค้นข้อมูลจากการสอบถามผู้รู้(ผู้ปกครอง)
    เลือกวิธีปรุงดินของแต่ละคน ในระหว่างที่นักเรียนทำงานดังกล่าว ทุกคนช่วยเหลืองานกันและกันเป็นอย่างดี หลายคนช่วยขนดินให้ครูป้อมกับครูจุลตนท่อของทุกคนเสร็จเพียงเวลา 2 ชั่วโมงครึ่ง
    บันทึกทุกกระบวนการทำงานในสัปดาห์นี้ลงในสมุดบันทึกข้าว(เล่มเล็ก) ทุกคนเขียนเล่าถึงปัญหาที่พบ? สิ่งที่ได้เรียนรู้แต่ละครั้งที่ลงมือทำเกี่ยวกับข้าว?
    ในสัปดาห์นี้นักเรียนยังไม่ได้ลงเนื้อหา PBL หลัก กระบวนการวางแผนการเรียนรู้จึงอาจอยู่สัปดาห์ 3-4 ตามแผนการสอนของครู แต่ครูให้โจทย์การบ้านนักเรียนอย่างต่อเนื่องในเรื่องเกี่ยวกับอาหาร
    แล้วนักเรียนได้เขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์เป็นการบ้าน พร้อมกับครูให้โจทย์นักเรียนวิเคราะห์ “ถ้าอาหารหมดโลก มนุษย์เราจะอยู่อย่างไร?”

    ตอบลบ