เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2558 หน่วยการเรียนรู้: Natural Kitchen – ครัวธรรมชาติ
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
มีความรู้ความเข้าใจต่ออาหาร สามารถผลิตอาหารที่ปลอดภัยและกิน อยู่ อย่างมีคุณภาพ รวมทั้งสามารถออกแบบการกินของอาหารในรูปแบบของตนเอง (นวัตกรรมและการนำไปใช้ )ได้

after school

week 1 : 14-15 พ.ค. 2558

       นักเรียนได้เตรียมจอบ เสียม บุงกี่ ฯลฯ อุปกรณ์ขนดินและนำต้นไม้มาปลูก ในแปลงนาสาธิตหน้าบ้าน ม.




ทุกคนกุลีกุจอร่วมกันขนดินตลอดช่วงเช้าอย่างสนุกสนาน และปลูกกล้วย ข่า ตะไคร้ ที่ได้รับบริจาคมาจากผู้ปกครอง

          จากนั้นนักเรียนได้โจทย์ “ปลูกข้าวสินเหล็ก เมล็ด ให้ได้ 2,000 เมล็ด ในพื้นที่จำกัด”









นักเรียนทุกคนไปเลือกท่อปลูกของตนเอง และสืบค้นข้อมูลจากการสอบถามผู้รู้(ผู้ปกครอง) 
เลือกวิธีปรุงดินของแต่ละคน ในระหว่างที่นักเรียนทำงานดังกล่าว ทุกคนช่วยเหลืองานกันและกันเป็นอย่างดี หลายคนช่วยขนดินให้ครูป้อมกับครูจุลตนท่อของทุกคนเสร็จเพียงเวลา ชั่วโมงครึ่ง

week 2 : 25-29 พ.ค. 2558
_วันจันทร์ครูและนักเรียนทุกคนพูดคุยถึงกระบวนการปลูกข้าว
นักเรียนได้รับโจทย์จากครูไปสืบค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการทำนา
นักเรียนแต่ละคนมีวิธีการแสวงหาแหล่งที่มาอย่างหลากหลาย เช่น หาข้อมูลในห้องสมุด สอบถามผู้รู้ อ่านจากหนังสือการทำนาที่มีอยู่แล้ว ฯลฯ Flip classroom แล้วครูยังให้โจทย์นักเรียนเตรียมชุดลำลองและหมวก ขวดน้ำมาในวันอังคาร เพื่อเตรียมดูท่อปลูกข้าวว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง?
_นักเรียนนำข้อมูลที่ได้มาแลกเปลี่ยนกับครูและเพื่อนๆ เริ่มตั้งแต่กระบวนการเตรียมแปลงนา ต้นกล้า จนไปถึงขั้นตอนการเก็บเกี่ยว บุญคูณลาน































คุณครูชวนนักเรียนคุยการคัดแยกเมล็ดพันธุ์
พี่เพชร_"จากที่ผมหาข้อมูลมา ให้แชร์ข้าวไว้ประมาณ1-2 วัน แล้วนำมาตากแดด เอาไปแช่น้ำอุ่นต่ออีกประมาณครึ่งวันครับ"
เพื่อนๆ _"ข้อมูลพวกเราคล้ายๆพี่เพชรเลยครับ/ค่ะ" เสียงเจือแจ๋วมารอบทั่ววงสนทนา

week 3-4แต่ครูให้การบ้านนักเรียนแต่ละคนไปวัดคำนวณหาค่าBMI นักเรียนยังสับสนในการหาค่าดังกล่าว การหาค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) คือเป็นมาตรการที่ใช้ประเมินภาวะอ้วนและผอมในผู้ใหญ่ ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป สามารถทำได้โดยการชั่งน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม และวัดส่วนสูงเป็นเซนติเมตร แล้วนำมาหาดัชมีมวลกาย โดยใช้โปรแกรมวัดค่าความอ้วนข้างต้น
นักเรียนช่วยกันคำนวณหาค่าช่วยเพื่อนๆ และร่วมกันออกแบบตารางการรับประทานอาหาร และหาค่าพลังงานจาออาหารแต่ละชนิดและกิจวัตรประจำวันใดในการเผาผลาญพลังงานพร้อมด้วย
ทุกคนจะบันทึกผลตารางการกิน อย่างต่อเนื่องโดยเริ่มจากสัปดาห์นี้
ในวันอังคารช่วยเช้าผู้ปกครองมาร่วมกับนักเรียนช่วยกันทำแปลงนา มีผู้ปกครองประมาณ 7-10 คน ที่มาเข้าร่วมกันในวันนั้น นักเรียนหลายคนเตรียมชุด จอบ เสียม มาเองด้วยหลายคน






















*ขอบคุณผู้ครองที่เข้ามาร่วมเรียนรู้กับนักเรียน..













ากนั้น..ครูชวนนักเรียนถอดบทเรียนจากกิจกรรมดังกล่าวว่าได้เรียนรู้อะไร? รู้สึกอย่างไร?
โดยเขียนออกมาผ่านบทความหรือภาพวาดของการเรียนรู้แต่ละคน

            week 5_ในสัปดาห์นี้นักเรียนสังเกตเห็นต้นกล้าที่เพาะเติบโตมากแล้ว และเมื่อคืนวันเสาร์-อาทิตย์ที่ผ่านมาฝนตกหนักมากๆ นักเรียนและครูจึงร่วมกันวางแผนเตรียมปลูกข้าวในคาบPBL และปลูกต้นกล้วย สาวน้อยปะแป้ง และขิงเหลือง ฯลฯ
            นักเรียนชาย-หญิง ทุกคนลงมือช่วยกันขุดคันนา ปรับนาดินและเตรียมกล้าพร้อมยอดและโยนกล้าลงแปลงนา
_ส่วนสัญลักษณ์รุ่นรูปเลข ๑ กับคำ ONENESS ตอนนี้ได้ข้าวพันธุ์ไรซ์เบอร์รี่(สีดำอมม่วง)มาจากบ้านพี่มิลล์ ตอนนี้ผสมเข้ากับพันธุ์ข้าวเล็บนกที่เคยนำลงก่อนหน้านี้ผสมเข้ากันเรียบร้อยแล้ว
จากนั้นนักเรียนลงกล้าใน กระด้ง ที่เพาะไว้ผ่านไป 16 วัน ถ้าหากส่วนไหนของแปลนาเป็นดอน(สูงและขาดน้ำไปถึง) นักเรียนจะทำนาหลุมแล้วหยอดต้นกล้าลงไป ส่วนนาดำจะเป็นส่วนที่มีน้ำขัง(ต่ำและน้ำท่วมขัง) ส่วนนาโยนเป็นส่วนที่นักเรียนสามารุดำนาและโยนต้นกล้าลงไปส่วนกลางได้ ทุกคนขะมักเขม้นอยู่ในบริเวณแปลงนาเกือบ ชั่วโมงจนนาดำเสร็จสมบูรณ์
















แล้วนักเรียนได้ไปดูท่อปลูกข้าวของแต่ละคน ข้าว เมล็ด ของนักเรียนเริ่มงอกแล้วกว่า 70% ส่วนของบางท่อขาดน้ำ บางท่อข้าวไม่งอกเลย บางท่อเพาะต้นกล้าไว้สำรองเกิน เมล็ด ฯลฯ
            ครูให้นักเรียนถอดบทเรียนจากการทำนาผ่านบทความ “ทำไม? เราจึงได้เรียนรู้การปลูกข้าว/ทำนา” นักเรียนเขียนถ่ายทอดสร้างสรรค์ผ่านบทความและนำเสนอต่อครูและเพื่อนๆ










นักเรียนยังทำงานในส่วนPBL หลักยังไม่เสร็จ



w9
_เนื่องจากแต่ละสัปดาห์ที่เด็กๆปลูกข้าวมา เด็กๆต้องได้วัดความสูง สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของต้นข้าว
แต่วัว/ควาย ที่มากินต้นข้าวของเด็กๆอยู่นอกเหนือการควบคุม(เสาร์-อาทิตย์) ทุกคนต่างตกใจมากๆเพราะข้าวหาย


สมมติฐาน –
“ข้าวที่ควาย/วัวกิน อาจแตกกอมากกว่าข้าวปกติ.”


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น