เป้าหมายรายสัปดาห์: เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการตรวจสอบไขมัน และการวิเคราะห์อาหารประเภทไขมัน ที่มีความเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายได้ รวมทั้งเข้าใจระบบการทำงานของหัวใจ
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
11
20-24 ก.ค. 58
|
โจทย์
การตรวจสอบไขมัน และการลดน้ำหนักในระยะเวลา 1 เดือน
Key Questions
นักเรียนจะมีวิธีการควบคุมอาหารประเภทไขมัน และแบ่งเวลาออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักของตัวเอง ในระยะเวลา 1 เดือน ได้อย่างไร
เครื่องมือคิด
Show and Share
- นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกายของคนเราในอดีตกับอนาคต
- นำเสนอเกี่ยวกับขั้นตอนการควบปริมาณอาหารประเภทไขมันละการออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักในเวลา 1 เดือน
Place mat
- เขียนถึงสาเหตุหรือปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดโรคอ้วนขึ้นอย่างไร / สาเหตุใดบ้าง
Round Rubin
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการสรุปการทดลอง
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- - คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต
- ภาพไทม์ไลน์ของคนจากอดีตมาสู่อนาคต โรคอ้วน
- กระดาษสีขาวบาง
- น้ำมันพืช
- อุปกรณ์ทดลอง
|
วันจันทร์
ชง : ครูนำภาพ “กินอย่างไร ไม่ให้อ้วน”
มาให้นักเรียนช่วยกันดู และวิเคราะห์เกี่ยวกับการรับประทาน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะมีวิธีการควบคุมอาหารประเภทไขมัน และแบ่งเวลาออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักของตัวเอง ในระยะเวลา 1 เดือน ได้อย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น จากสิ่งที่ได้ดู ร่วมกันวิเคราะห์ถึงอาหารเกี่ยวกับการรับประทานและการออกกำลังกาย
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับชิ้นงานในแต่ละกลุ่มได้พูดคุยวิเคราะห์ร่วมกันมา
- ครูและนักเรียนชั่งน้ำหนักของตนเอง เพื่อช่วยกันควบคุมปริมาณอาหารและออกกำลังกายสม่ำเสมอใน 1 เดือน (แต่ละคนจะมีวิธีอย่างไร)
- นักเรียนเขียนออกแบบไทม์ไลน์ 1 เดือน ในการควบคุมปริมาณอาหารประเภทไขขันและการรับประทานอาหาร
วันอังคาร
ใช้ : นักเรียนอภิปรายวิธีการที่ตนเองจะดำเนินการลดน้ำหนักในระยะเวลา 1 เดือน
- นักเรียนเขียนสรุปสิ่งที่ได้ดำเนินการลดน้ำหนักเป็น Fort chart
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าโรคอ้วน มีผลกระทบต่อระบบการทำงานของร่างกายเราอย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้น(โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน, โรคหัวใจ, โรคเบาหวาน, โรคข้อเสื่อม, โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ)
วันพุธ
ชง : ครูให้แบบบันทึกอาการผู้ป่วย แล้วให้นักเรียนวินิจฉัยว่าเป็นโรคอะไร
เชื่อม : นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะอาการและร่วมกันวินิจฉัยว่าน่าจะเป็นโรคอะไร
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าระบบการทำงานของหัวใจเราเป็นอย่างไรบ้าง?”
เชื่อม : นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น และแบ่งกลุ่มศึกษาระบบการทำงานของหัวใจและบันทึกผลลงในสมุดเล่มเล็ก
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอเรื่องที่ศึกษาค้นคว้า
วันศุกร์
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าหัวใจคนกับหัวใจหมู เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?”
เชื่อม : แบ่งกลุ่มนักเรียนศึกษาและผ่าตัดหัวใจหมู เพื่อศึกษาระบบการทำงานของหัวใจคน
- นักเรียนแต่ละกลุ่มสรุปเรื่องระบบการทำงานของหัวใจในรูปแบบ Flow chart
- ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
ใช้ : นักเรียนเขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับสารอาหารที่เรียนผ่านมา
- ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสาเหตุต่างๆ ที่ส่งผลทำให้คนในยุคปัจจุบันแตกต่างจากในอดีต
- ครูและนักเรียนร่วมพูดคุยถึงมีวิธีทดลองเกี่ยวกับเรื่องไขมัน(น้ำมัน) อย่างไร
- นักเรียนสืบค้นข้อมูลมานำเสนอต่อครูและเพื่อนๆ เกี่ยวกับการหยดน้ำมัน ลงแผ่นกระดาษสีขาว
- นักเรียนร่วมสังเกตการเปลี่ยนแปลงและบันทึกผลการทดลอง
- นักเรียนเขียนออกแบบ ไทม์ไลน์ 1 เดือน ในการวบคุมปริมาณอาหารประเภทไขขันและการรับประทานอาหาร
ชิ้นงาน
- เขียนวิเคราะห์เกี่ยวกับสาเหตุหรือปัจจัยที่มีผลต่อคนในยุคอดีตกับอนาคต
- ออกแบบตารางการควบคุมปริมาณอาหารไขมันและการออกกำลังกายใน 1 เดือน
- ทำflow chartเกี่ยวกับการควบคุมปริมาณอาหารไขมันและการออกกำลังกายใน 1 เดือน
|
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการตรวจสอบไขมัน และการวิเคราะห์อาหารประเภทไขมัน ที่มีความเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายได้ รวมทั้งเข้าใจระบบการทำงานของหัวใจ
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- การมีส่วนร่วมในการหาข้อมูล ปรึกษาแลกเปลี่ยนความรู้ชิ่งกันและกัน การช่วยเหลือผู้อื่น
- การวางแผนในการทำงานกลุ่มเกี่ยวกับสาเหตุและปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดโรคอ้วน
ทักษะICT
สืบค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุและปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดโรคอ้วน
ทักษะการสื่อสาร
นำเสนอชิ้นงานเกี่ยวกับร่างกายของคนเราในอดีตกับอนาคต
ทักษะการเรียนรู้
-สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงความเข้าใจด้านการควบคุมการบริโภคอาหารไขมันและการออกกำลังกาย
-สามารถวิเคราะห์ความแตกต่างของสาเหตุที่ส่งผลทำให้เกิดโรคอ้วนตามมา
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอวิธีการลดปริมาณอาหารประเภทไขมันและการออกกำลังกาย1 เดือน เพื่อลดน้ำหนัก
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
_ในต้นสัปดาห์นี้ในชั้น ม.1
มีเด็กนักเรียนจากโรงเรียนฯอื่นจาก จ.ขอนแก่น เข้ามาร่วมเรียนรู้ไปพร้อมๆ
กันไปด้วย 5 คน เริ่มตั้งแต่ชั่วโมงจิตศึกษาจนถึงเที่ยง
ด้วยบรรยากาศที่กำลังผ่านมาและด้วยอารมณ์ของเด็กๆ ม.1
ที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการทำนา ครูจึงใช้จังหวะนี้ให้ทุกคนเขียนถ่ายทอดบรรยากาศการทำนา/
ความร่วมมือ/ สัมพันธภาพที่ดีของทุกคนที่ให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
ครูให้โจทย์นักเรียนเขียน "บรรยากาศการทำนา..และการมีส่วนร่วมช่วยเหลือกัน"
ก่อนเขียนครูให้เด็กๆ ครูพาเด็กๆ ไปเดินสำรวจข้าวในแปลงนาของโรงเรียนฯ
และยังมีแปลงข้าวที่ ม.1 ปลูกไว้อีกด้วย เพื่อให้เจอภาพจริงของบรรยากาศ
จากนั้นนักเรียนเขียนงานบันทึก'การทำนา'ลงในสมุดข้าวพร้อมวาดภาพประกอบ
นำเสนอความเข้าใจของทุกคน
นักเรียนเปิดน้ำใส่ในแปลงและในนาเริ่มมีปลาเข้ามาอาศัยอยู่
และข้าวที่เป็นตัวอักษร๑ กับคำว่าONENESS นักเรียนตัดใบข้าวออกบางส่วนเพื่อให้ตรงกลางงอกขึ้น
ในชั่วโมงต่อมา_คุณแม่พี่ปุณกับคุณแม่พี่ไอดินมาช่วยครูสอนเรื่องร่างกาย
(กิจกรรมผู้ปกครองอาสา)
นักเรียนทุกคนต่างกระตือรือร้นในการเรียนรู้และกล้าตั้งคำถามที่อยากเรียนรู้
และยังโยงเข้าสู่เรื่องโรคภัยและสารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย
การนำไปใช้อย่างไร? แต่ละส่วยของอวัยวะร่างกายของแต่ละคนสัมพันธ์กันแบบไหน?
คุณแม่ทั้งสองท่านเตรียมสื่ออุปกรณ์การเรียนรู้มาจากโรงพยาบาลนางรอง
สิ่งที่เด็กๆได้เรียนรู้กับหาไม่ได้จากหนังสือหรืออินเตอร์เน็ต ท่านทั้งสองให้ความเข้าใจกระจ่างสำหรับความรู้ระดับ
ม.1
หลังจากชั่วโมงนั้นเด็กๆ ทุกคนได้มาถอดบทเรียนที่ได้จากกิจกรรม
ความเข้าใจต่อกิจกรรมอะไรบ้าง? ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรม? นำไปใช้ได้อย่างไร?
_ในสัปดาห์นี้ทุกคนได้กิจกรรมทำโรงเห็ดของพี่ๆมัธยมฯ
ร่วมกับผู้ปกครองและร่วมประกอบอาหารเพื่อนำมารับประทานร่วมกันช่วงเที่ยง
บันทึกกิจกรรมการกินนักเรียนยังทำร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
นักเรียนได้สรุปการเรียนรู้ทุกๆรายวิชา ร่วมทั้งงานกิจกรรมก่อนสิ้นสุดQuarterนี้ และทุกคนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
_ในต้นสัปดาห์นี้ในชั้น ม.1 มีเด็กนักเรียนจากโรงเรียนฯอื่นจาก จ.ขอนแก่น เข้ามาร่วมเรียนรู้ไปพร้อมๆ กันไปด้วย 5 คน เริ่มตั้งแต่ชั่วโมงจิตศึกษาจนถึงเที่ยง
ตอบลบหลังจากสัปดาห์ที่ผ่านมาทางโรงเรียนฯมีกิจกรรม : 'ถอนกล้า-ปักกล้า-ดำนา'
ด้วยบรรยากาศที่กำลังผ่านมาและด้วยอารมณ์ของเด็กๆ ม.1 ที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการทำนา ครูจึงใช้จังหวะนี้ให้ทุกคนเขียนถ่ายทอดบรรยากาศการทำนา/ ความร่วมมือ/ สัมพันธภาพที่ดีของทุกคนที่ให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
ครูให้โจทย์นักเรียนเขียน "บรรยากาศการทำนา..และการมีส่วนร่วมช่วยเหลือกัน"
ก่อนเขียนครูให้เด็กๆ ครูพาเด็กๆ ไปเดินสำรวจข้าวในแปลงนาของโรงเรียนฯ และยังมีแปลงข้าวที่ ม.1 ปลูกไว้อีกด้วย เพื่อให้เจอภาพจริงของบรรยากาศ
จากนั้นนักเรียนเขียนงานบันทึก'การทำนา'ลงในสมุดข้าวพร้อมวาดภาพประกอบ นำเสนอความเข้าใจของทุกคน
นักเรียนเปิดน้ำใส่ในแปลงและในนาเริ่มมีปลาเข้ามาอาศัยอยู่ และข้าวที่เป็นตัวอักษร๑ กับคำว่าONENESS นักเรียนตัดใบข้าวออกบางส่วนเพื่อให้ตรงกลางงอกขึ้น
ในชั่วโมงต่อมา_คุณแม่พี่ปุณกับคุณแม่พี่ไอดินมาช่วยครูสอนเรื่องร่างกาย (กิจกรรมผู้ปกครองอาสา)
นักเรียนทุกคนต่างกระตือรือร้นในการเรียนรู้และกล้าตั้งคำถามที่อยากเรียนรู้ และยังโยงเข้าสู่เรื่องโรคภัยและสารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย การนำไปใช้อย่างไร? แต่ละส่วยของอวัยวะร่างกายของแต่ละคนสัมพันธ์กันแบบไหน?
คุณแม่ทั้งสองท่านเตรียมสื่ออุปกรณ์การเรียนรู้มาจากโรงพยาบาลนางรอง
เป็นเครื่องมือแพทย์ และแม่พี่ปุณเป็นคุณหมอ
สิ่งที่เด็กๆได้เรียนรู้กับหาไม่ได้จากหนังสือหรืออินเตอร์เน็ต ท่านทั้งสองให้ความเข้าใจกระจ่างสำหรับความรู้ระดับ ม.1
หลังจากชั่วโมงนั้นเด็กๆ ทุกคนได้มาถอดบทเรียนที่ได้จากกิจกรรม ความเข้าใจต่อกิจกรรมอะไรบ้าง? ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรม? นำไปใช้ได้อย่างไร?
_ในสัปดาห์นี้ทุกคนได้กิจกรรมทำโรงเห็ดของพี่ๆมัธยมฯ ร่วมกับผู้ปกครองและร่วมประกอบอาหารเพื่อนำมารับประทานร่วมกันช่วงเที่ยง
บันทึกกิจกรรมการกินนักเรียนยังทำร่วมกันอย่างต่อเนื่อง นักเรียนได้สรุปการเรียนรู้ทุกๆรายวิชา ร่วมทั้งงานกิจกรรมก่อนสิ้นสุดQuarterนี้ และทุกคนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์