เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2558 หน่วยการเรียนรู้: Natural Kitchen – ครัวธรรมชาติ
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
มีความรู้ความเข้าใจต่ออาหาร สามารถผลิตอาหารที่ปลอดภัยและกิน อยู่ อย่างมีคุณภาพ รวมทั้งสามารถออกแบบการกินของอาหารในรูปแบบของตนเอง (นวัตกรรมและการนำไปใช้ )ได้

Week 6

เป้าหมายรายสัปดาห์เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการตรวจสอบสารอาหารประเภทแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) ในใบพืช และอาหารประเภทต่างๆ ได้
Week
Input
Process
Output
Outcome







6
15-19 มิ.ย. 58

โจทย์
 สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
Key  Question
 นักเรียนมีวิธีการตรวจสอบแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) ในอาหารได้อย่างไร
เครื่องมือคิด
Show and Share
นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการตรวจสอบสารอาหารประเภทแป้ง(คาร์โบไฮเดรต)ที่อยู่ในใบพืชและอาหารประเภทต่างๆ
Round Rubin
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
Brainstorm
ระดมความคิดเกี่ยวกับกระบวนการทดลองสารอาหารประเภทแป้ง(คาร์โบไฮเดรต)ที่อยู่ในใบพืชและอาหารประเภทต่างๆ
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- อุปกรณ์ตรวจสอบสารอาหารประเภทแป้ง(คาร์โบไฮเดรต)ที่อยู่ในใบพืชและอาหารประเภทต่างๆ
- ใบพืชสำหรับการตรวจสอบ อาทิเช่น ใบถั่ว, ใบกล้วย, ใบอัญชัน, ใบข้าว ฯลฯ โดยอยู่ในสภาพ(กลางแจ้ง, ที่มืด)

วันจันทร์
เชื่อม นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
- แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละเท่าๆ กัน เพื่อร่วมกันทดลอง “ตรวจสอบสารอาหารประเภทแป้ง(คาร์โบไฮเดรต) ในใบพืช”
วันอังคาร
- นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง อาทิเช่น ใบพืชประเภทต่างๆ โดยอยู่ในสภาพ(กลางแจ้ง, ที่มืด)
- ครูและนักเรียนร่วมทดลองตรวจสอบสารอาหารประเภทแป้ง(คาร์โบไฮเดรต) ในใบพืช
วันพุธ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมสังเกตและบันทึกผลการทดลองลงในสมุดเล่มเล็ก พร้อมเปรียบเทียบความแตกต่างของใบพืชแต่ละประเภท ร่วมถึงสถานที่อยู่ของใบพืชนั่นๆ
วันศุกร์
ใช้ ครูและนักเรียนร่วมนำเสนออภิปรายสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทดลอง
นักเรียนแต่ละคนสรุปสิ่งที่ได้ตรวจสอบสิ่งที่ได้เรียนรู้แป้ง(คาร์โบไฮเดรต) ในรูปแบบการ์ตูนช่อง
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง อาทิเช่น ใบพืชประเภทต่างๆ โดยอยู่ในสภาพ(กลางแจ้ง, ที่มืด)
- ทดลองตรวจสอบสารอาหารประเภทแป้ง(คาร์โบไฮเดรต) ในใบพืช
- ร่วมสังเกตและบันทึกผลการทดลองลงในสมุดเล่มเล็ก พร้อมเปรียบเทียบความแตกต่างของใบพืชแต่ละประเภท ร่วมถึงสถานที่อยู่ของใบพืชนั่นๆ
- ร่วมนำเสนออภิปรายสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทดลอง
- สรุปสิ่งที่ได้ตรวจสอบสิ่งที่ได้เรียนรู้แป้ง(คาร์โบไฮเดรต) ในรูปแบบการ์ตูนช่อง

ชิ้นงาน
การ์ตูนช่องเกี่ยวกับชุดความรู้แป้ง(คาร์โบไฮเดรต)
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
กระบวนการตรวจสอบสารอาหารประเภทแป้ง (คาร์โบไฮเดรต) ในใบพืช และอาหารประเภทต่างๆ
ทักษะ
ทักษะชีวิต
การทำงานกลุ่มการช่วยเหลือกันเกี่ยวกับวิธีการทดลองเพื่อตรวจสอบสารอาหารประเภทแป้ง(คาร์โบไฮเดรต) ในใบพืช
ทักษะICT
สืบค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการทดลองเพื่อตรวจสอบสารอาหารประเภทแป้ง(คาร์โบไฮเดรต) ในใบพืช
ทักษะการสื่อสาร
นำเสนอชิ้นงานเกี่ยวกับวิธีการทดลองเพื่อตรวจสอบสารอาหารประเภทแป้ง(คาร์โบไฮเดรต) ในใบพืช
ทักษะการเรียนรู้
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องเกี่ยวกับการแยกประเภทขอสารอาหารที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้โดยวิธีการทดลอง
- การเลือกใช้เครื่องมือคิดที่หลากหลายในกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อวิเคราะห์สารอาหารในใบพืช
- สามารถวิเคราะห์ผลการทดลองเกี่ยวกับสารอาหารประเภทแป้ง(คาร์โบไฮเดรต) ในใบพืชได้
คุณลักษณะ
สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากกระบวนการทดลองในรูปแบบการ์ตูนช่อง
 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

_นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันทำงานpbl เกี่ยวกับการตรวจสอบสารอาหาร โดยก่อนห้านี้นักเรียนได้รับโจทย์ให้ไปศึกษาข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ อาทิเช่น คอมฯ ห้องสมุด แล้วนำข้อมูลที่ได้มาจัดกระทำข้อมูลเป็นกลุ่มละ 5 คน โดยหาข้อมูลทั้ง 5 หมู่สารอาหารที่แต่ละคนสือค้นมา นำมารวมกันลงในกระดาษบลู๊ฟ ผ่านเครื่องมือคิดweb ส่วนพี่บอลกับพี่ปอนด์ทำงานคู่ตามข้อมูลที่หามาทำชิ้นงานเป็นคู่
















_จากนั้นนักเรียนนำเสนอข้อมูลของแต่ละกลุ่ม โดยครูให้นักเรียนซ้อมก่อนการนำเสนอข้อมูลภายในเวลา 10 นาที ผ่านการนำเสนอที่หลากหลายในวันจันทร์คาบpbl โดยนักเรียนนำเสนอผ่านไป 2 กลุ่ม ยังเหลืออีก 2 กลุ่ม
แต่เนื่องจากแปลงข้าวหน้าบ้าน ม.1 ข้าวเจริญเติบโตมากแล้ว แต่ในส่วนของบริเวณที่อยู่ใกล้เลข๑ และคำว่า ONENESS น้ำยังท่วมไม่ถึง จึงทำให้นกมากินเมล็ดข้าวเกือบหมด
ครูกับนักเรียนจึงร่วมกันช่วยโยกย้ายต้นข้าวให้ทั่วบริเวณแปลงนา
_แต่ในระหว่างที่ทำการย้านต้นกล้านั้น เกิดปัญหาในมการเรียนรู้มากมาย เพราะก่อนวันนั้นเย็นวันจันทร์คุณแม่พี่มิลล์นำต้นกล้าของบวบและฟักทองมาบริจาคให้ ม.1
และวันนั้นพี่แต้ม(พนักงานดูแลบริเวณมัธยมฯ) ก็มาทำหน้าที่อยู่บริเวณใกล้แปลงนาพอดี
นักเรียนจึงแบ่งกันออกเป็น 3 กลุ่ม 
กลุ่ม 1: ย้านต้นกล้า

 








กลุ่ม 2: ขุดร่องตามขอบแปลงนา
กลุ่ม 3: ปลูกต้นไม้/แซมต้นกล้ารอบๆแปลงนา


นักเรียนช่วยกันทำตลอด 2 ชั่วโมง ทุกคนเหนื่อยล้ามากๆ ครูจึงให้ทุกคนได้พักผ่อนคลายประมาก15-20นาที เพื่อให้หายจากอาการล้า



พวกเราโชคดีมากๆ เย็นวันนั้นฝนตกกระหน่ำทำให้น้ำในแปลงนา น้ำกำลังพอเหมาะในบริเวณ
แต่ปัญหาที่พบคือตันกล้าลอยอยู่บางจุด และต้นข้าวหลายๆต้นหัก ต้องช่วยกันย้ายต้นกล้าอีกครั้ง เราวางระยะห่างไว้ปประมาณ 40-55 เซนติเมตร และส่งคนลงไปย้ายไม่เยอะประมาณ 3-4 คน ช่วยกันย้าย 




และเช้าวันนั้นครูใหญ่แนะนำให้หว่านปุ๋ย โดยมีปุ๋ยเหลือเยอะจากที่สมาคมผู้ปกครองหว่านเหลือ และปุ๋ยคอกวัว/ควาย หว่านเพิ่มอีกส่วนหนึ่ง โดยการหว่านปุ๋ยเป็นไปอย่างสนุกสนานและทุกคนได้ช่วยกันและกันเป็นอย่างดี การหว่านปุ๋ยต้องใช้ศิลปะในการกระจายให้ทั่วถึง

สำรวจและบันทึกผลรายงานความคืบหน้า "ปลูกข้าว 4 เมล็ด ให้ได้ 2,000 เมล็ด" ข้าวของบางท่อเกิน4ต้น ส่วนของบางท่อข้าวขึ้นยังไม่ครบ

 

ทุกคนก็เลยช่วยกันร่วมพูดคุยถึงการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยการโยกย้ายต้นกล้าจากแต่ละท่อ เพื่อนำลงปลูกในท่อของเพื่อนๆแล้วก็สามารถสับเปลี่ยนต้นข้าวทึ่สมบูรณ์กว่าแทนที่กัน จากนั้นนักเรียนนำปุ๋ยที่เหลือจากแปลงนามาลงในท่อของแต่ละคน พรวนดิน เติมน้ำ ฯลฯ 




_จากนั้นทุกคนบันทึกผลการเรียนรู้จากการปลูกข้าว พร้อมกับวาดภาพประกอบ ตกแต่งให้ชิ้นงานสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้

_ก่อนนักเรียนจะได้สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ นักเรียนอีก 2 กลุ่ม ได้นำเสนองานต่อจนเสร็จโดยครูใช้คำถามตรวจสอบความเข้าใจเสมอทุกครั้งที่นักเรียนถ่ายทอดความเข้าใจ และทุกคนเขียนถ่ายทอดบันทึกการกินและร่วมกันพูดคุยทุกครั้ง วัดน้ำหนัก/ส่วนสูงอย่างต่อเนื่อง

สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์




1 ความคิดเห็น:

  1. PBL
    _นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันทำงานpbl เกี่ยวกับการตรวจสอบสารอาหาร โดยก่อนห้านี้นักเรียนได้รับโจทย์ให้ไปศึกษาข้อมูลจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ อาทิเช่น คอมฯ ห้องสมุด แล้วนำข้อมูลที่ได้มาจัดกระทำข้อมูลเป็นกลุ่มละ 5 คน โดยหาข้อมูลทั้ง 5 หมู่สารอาหารที่แต่ละคนสือค้นมา นำมารวมกันลงในกระดาษบลู๊ฟ ผ่านเครื่องมือคิดweb ส่วนพี่บอลกับพี่ปอนด์ทำงานคู่ตามข้อมูลที่หามาทำชิ้นงานเป็นคู่
    _จากนั้นนักเรียนนำเสนอข้อมูลของแต่ละกลุ่ม โดยครูให้นักเรียนซ้อมก่อนการนำเสนอข้อมูลภายในเวลา 10 นาที ผ่านการนำเสนอที่หลากหลายในวันจันทร์คาบpbl โดยนักเรียนนำเสนอผ่านไป 2 กลุ่ม ยังเหลืออีก 2 กลุ่ม
    แต่เนื่องจากแปลงข้าวหน้าบ้าน ม.1 ข้าวเจริญเติบโตมากแล้ว แต่ในส่วนของบริเวณที่อยู่ใกล้เลข๑ และคำว่า ONENESS น้ำยังท่วมไม่ถึง จึงทำให้นกมากินเมล็ดข้าวเกือบหมด
    ครูกับนักเรียนจึงร่วมกันช่วยโยกย้ายต้นข้าวให้ทั่วบริเวณแปลงนา
    _แต่ในระหว่างที่ทำการย้านต้นกล้านั้น เกิดปัญหาในมการเรียนรู้มากมาย เพราะก่อนวันนั้นเย็นวันจันทร์คุณแม่พี่มิลล์นำต้นกล้าของบวบและฟักทองมาบริจาคให้ ม.1
    และวันนั้นพี่แต้ม(พนักงานดูแลบริเวณมัธยมฯ) ก็มาทำหน้าที่อยู่บริเวณใกล้แปลงนาพอดี
    นักเรียนจึงแบ่งกันออกเป็น 3 กลุ่ม
    กลุ่ม 1: ย้านต้นกล้า
    กลุ่ม 2: ขุดร่องตามขอบแปลงนา
    กลุ่ม 3: ปลูกต้นไม้/แซมต้นกล้ารอบๆแปลงนา
    นักเรียนช่วยกันทำตลอด 2 ชั่วโมง ทุกคนเหนื่อยล้ามากๆ ครูจึงให้ทุกคนได้พักผ่อนคลายประมาก15-20นาที เพื่อให้หายจากอาการล้า
    พวกเราโชคดีมากๆ เย็นวันนั้นฝนตกกระหน่ำทำให้น้ำในแปลงนา น้ำกำลังพอเหมาะในบริเวณ
    แต่ปัญหาที่พบคือตันกล้าลอยอยู่บางจุด และต้นข้าวหลายๆต้นหัก ต้องช่วยกันย้ายต้นกล้าอีกครั้ง เราวางระยะห่างไว้ปประมาณ 40-55 เซนติเมตร และส่งคนลงไปย้ายไม่เยอะประมาณ 3-4 คน ช่วยกันย้าย และเช้าวันนั้นครูใหญ่แนะนำให้หว่านปุ๋ย โดยมีปุ๋ยเหลือเยอะจากที่สมาคมผู้ปกครองหว่านเหลือ และปุ๋ยคอกวัว/ควาย หว่านเพิ่มอีกส่วนหนึ่ง โดยการหว่านปุ๋ยเป็นไปอย่างสนุกสนานและทุกคนได้ช่วยกันและกันเป็นอย่างดี การหว่านปุ๋ยต้องใช้ศิลปะในการกระจายให้ทั่วถึง

    สำรวจและบันทึกผลรายงานความคืบหน้า "ปลูกข้าว 4 เมล็ด ให้ได้ 2,000 เมล็ด" ข้าวของบางท่อเกิน4ต้น ส่วนของบางท่อข้าวขึ้นยังไม่ครบ
    ทุกคนก็เลยช่วยกันร่วมพูดคุยถึงการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยการโยกย้ายต้นกล้าจากแต่ละท่อ เพื่อนำลงปลูกในท่อของเพื่อนๆแล้วก็สามารถสับเปลี่ยนต้นข้าวทึ่สมบูรณ์กว่าแทนที่กัน จากนั้นนักเรียนนำปุ๋ยที่เหลือจากแปลงนามาลงในท่อของแต่ละคน พรวนดิน เติมน้ำ ฯลฯ
    _จากนั้นทุกคนบันทึกผลการเรียนรู้จากการปลูกข้าว พร้อมกับวาดภาพประกอบ ตกแต่งให้ชิ้นงานสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้

    _ก่อนนักเรียนจะได้สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ นักเรียนอีก 2 กลุ่ม ได้นำเสนองานต่อจนเสร็จโดยครูใช้คำถามตรวจสอบความเข้าใจเสมอทุกครั้งที่นักเรียนถ่ายทอดความเข้าใจ และทุกคนเขียนถ่ายทอดบันทึกการกินและร่วมกันพูดคุยทุกครั้ง วัดน้ำหนัก/ส่วนสูงอย่างต่อเนื่อง

    ตอบลบ