เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2558 หน่วยการเรียนรู้: Natural Kitchen – ครัวธรรมชาติ
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
มีความรู้ความเข้าใจต่ออาหาร สามารถผลิตอาหารที่ปลอดภัยและกิน อยู่ อย่างมีคุณภาพ รวมทั้งสามารถออกแบบการกินของอาหารในรูปแบบของตนเอง (นวัตกรรมและการนำไปใช้ )ได้

Week 3

เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจการวางแผนการรับประทานอาหารและสามารถอธิบายประเภทของสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายได้
Week
Input
Process
Output
Outcome







3
25-29 พ.ค. 58

โจทย์
- ประเภทของสารอาหาร
- วางแผนการกิน
Key  Questions
- อาหารเช้ามีความสำคัญอย่างไร?
- ทำไมเราต้องทานอาหาร?
นักเรียนจะออกแบบตารางการบริโภคและพัฒนาสมรรถภาพด้านต่างๆของตนเองได้อย่างไร?
เครื่องมือคิด
Show and Share
นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับประเภทของอาหาร
Place mat
ประเภทของอาหารและการตรวจสอบสารอาหาร
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
 คลิปวีดีโอสั้น เรื่อง เด็กกว่า ล้านคนในแอฟริกาขาดอาหาร
ตาราง “คุณประโยชน์ของอาหารตามโทนสี
-                    - คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต
- เมนูอาหารมื้อเช้า
วันจันทร์
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าอาหารมื้อเช้าที่นักเรียนทานบ่อยที่สุด เป็นเมนูใด?
เชื่อม นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเมนูอาหารมื้อเช้า
- นักเรียนแต่ละคนเลือกเมนูอาหารที่ตนเองทานบ่อยที่สุดคนละ เมนู พร้อบันทึกลงในสมุดเล่มเล็ก
ชง ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ในเมนูอาหารที่นักเรียนเลือกมีสารอาหารอะไรเป็นองค์ประกอบ?
เชื่อม นักเรียนแต่ละค้นสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ
สารอาหารที่อยู่ในอาหาร
อาหารคลีน (Clean Food) เป็นอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงแต่งสารเคมีใดๆ

- แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มกลุ่มละเท่าๆ กัน
ใช้ : นักเรียนแต่ละกลุ่มนำข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นมาร่วมวิเคราะห์ และสรุปเพื่อนำเสนอข้อมูลตามรูปแบบต่างๆ อาทิเช่น Mind Mapping, ชาร์ตความรู้, การ์ตูนช่อง ฯลฯ
เชื่อม  นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอข้อมูลให้เพื่อนและคุณครูร่วมตั้งคำถามและแสดงความคิดเห็น
วันอังคาร
ชง ครูเปิดคลิปวีดีโอสั้น เรื่อง เด็กกว่า 1ล้านคนในแอฟริกาขาดอาหาร
ซึ่งเกี่ยวกับสภาพของภาวะโภชนาการที่ขาดแคลน เมื่อเปรียบเทียบกับอีกมุมหนึ่งของโลกที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องอาหาร
เชื่อม ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู
 ครูให้นักเรียนดูตาราง “คุณประโยชน์ของอาหารตามโทนสี” 
เชื่อม : นักเรียนร่วมกันพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู
- นักเรียนแต่ละคนศึกษาและวิเคราะห์พลังงานจากอาหารที่ร่างกายต้องการ(BMI)
ในแต่ละวัน
วันพุธ
ใช้ : สรุปข้อมูลและวางแผนการรับประทานอาหารและการดำเนินชีวิตให้ถูกสุขลักษณะ
 ชง :  ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะออกแบบตารางการบริโภค
และพัฒนาสมรรถภาพด้านต่างๆของตนเองได้อย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนเริ่มลงมือปฏิบัติ พร้อมบันทึกผลลงในตาราง
วันศุกร์
เชื่อม : ร่วมพูดคุยถึงผลที่เกิดขึ้นเป็นระยะ
- นักเรียนเขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- การอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับเมนูอาหารมื้อเช้าของนักเรียนแต่ละคน
- การออกแบบตารางการบริโภคและพัฒนาสมรรถภาพด้านต่างๆของตนเอง
- การสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสารอาหารที่อยู่ในอาหาร
-         - การนำเสนอข้อมูลที่ได้สืบค้นเกี่ยวกับสารอาหารที่อยู่ในอาหาร
-                     ชิ้นงาน
- สร้างชิ้นงานตามความถนัดของผู้เรียน เช่น Mind Mapping, ชาร์ตความรู้, การ์ตูนช่อง เกี่ยวกับสารอาหารประเภทต่างๆ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจการวางแผนการรับประทานอาหารและสามารถอธิบายประเภทขอสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
การทำงานกลุ่มการให้ความมือในการทำงานร่วมกันวางแผนเกี่ยวกับสารอาหารและการตรวจสอบสารอาหาร
ทักษะICT
สืบค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสารอาหารและการตรวจสอบสารอาหาร
ทักษะการสื่อสาร
-นำเสนอชิ้นงานเกี่ยวกับสารอาหารและการตรวจสอบสารอาหาร

-การเลือกใช้เครื่องมือคิดที่หลากหลายในกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน
ทักษะการเรียนรู้
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องเกี่ยวกับการแยกประเภทขอสารอาหารที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- สามารถวิเคราะห์และจำแนกประเภทของสารอาหารที่มีอยู่ในอาหารแต่ละประเภทได้
คุณลักษณะ
สร้างสรรค์และนำเสนอข้อมูลที่สืบค้นในรูปแบบชิ้นงานที่หลากหลาย อาทิเช่น Mind Mapping, ชาร์ตความรู้, การ์ตูนช่อง ฯลฯ
 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

  ภาพกิจกรรมหลังการเรียนรู้
_วันจันทร์ครูและนักเรียนทุกคนพูดคุยถึงกระบวนการปลูกข้าว
นักเรียนได้รับโจทย์จากครูไปสืบค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการทำนา
นักเรียนแต่ละคนมีวิธีการแสวงหาแหล่งที่มาอย่างหลากหลาย เช่น หาข้อมูลในห้องสมุด สอบถามผู้รู้ อ่านจากหนังสือการทำนาที่มีอยู่แล้ว ฯลฯ Flip classroom แล้วครูยังให้โจทย์นักเรียนเตรียมชุดลำลองและหมวก ขวดน้ำมาในวันอังคาร เพื่อเตรียมดูท่อปลูกข้าวว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง?
_นักเรียนนำข้อมูลที่ได้มาแลกเปลี่ยนกับครูและเพื่อนๆ เริ่มตั้งแต่กระบวนการเตรียมแปลงนา ต้นกล้า จนไปถึงขั้นตอนการเก็บเกี่ยว บุญคูณลาน































คุณครูชวนนักเรียนคุยการคัดแยกเมล็ดพันธุ์
พี่เพชร_"จากที่ผมหาข้อมูลมา ให้แชร์ข้าวไว้ประมาณ1-2 วัน แล้วนำมาตากแดด เอาไปแช่น้ำอุ่นต่ออีกประมาณครึ่งวันครับ"
เพื่อนๆ _"ข้อมูลพวกเราคล้ายๆพี่เพชรเลยครับ/ค่ะ" เสียงเจือแจ๋วมารอบทั่ววงสนทนา
คุณครูพานักเรียนไปช่วยกันขนเก้าอี้ที่ห้องประชุมไปเก็บที่โรงอาหาร ช่วงก่อนเรียนpbl

ครูพานักเรียนทุกคนคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวสินเหล็ก 4 เมล็ด

_ในสัปดาห์นี้นักเรียนได้ร่วมกันเลือกหน่วยการเรียนในภาคเรียนนี้ โดยพี่ไอดินกับพี่ออสตินช่วยดำเนินกิจกรรม จนได้ชื่อหน่วยคือ "ครัวธรรมชาติ-Natural Kitchen"
จากนั้นนักเรียนทำ "สิ่งที่รู้แล้ว_สิ่งที่อยากเรียนรู้" โดยเริ่มจากเขียนเดี่ยวก่อน จึงจับกลุ่มละ3 คน เขียนให้ขมวดออกมาดีที่สุด
ในวันพฤหัสฯ ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนร่วมกันจัดทำชาร์ตเพื่อติดให้ทราบถึงปฏิทินการเรียนรู้
และออกแบบป้ายชื่อหน่วย
























_จากนั้นนักเรียนลงมือทำmind mapping(ก่อนเรียน) แล้ววัดน้ำหนักและวัดส่วนสูงเพื่อคำนวณหาค่าBMI เชื่อมโยงเข้าสู่กิจกรรมคู่ขนานของนักเรียนตามปฏิทิน

ข้อมูลเพิ่มเติมค่าBMI
เกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานที่จะมาจับได้ก็คือค่า BMI หรือ Body Mass Index นั่นเองครับ 
สูตรการคำนวนหาค่า BMI ก็คือ = น้ำหนัก(กิโลกรัม) หาร ส่วนสูง(เมตร)ยกกำลังสอง 

ยกตัวอย่าง การคำนวณ สมมุติว่าคุณหนัก 60 kg และสูง 165 cm ก่อนอื่นก็แปลงส่วนสูงเป็นเมตรก่อนครับ 
โดย 165 เซนติเมตร พอกลายเป็นเมตรก็เท่ากับ 1.65 เมตรครับ 
ก็เอาค่ามาเทียบในสูงได้เลย = 60 / (1.65 x 1.65) = 22.03 

ค่า BMI ก็จะเท่ากับ 22.03 นั่นเองครับ 

เมื่อได้ค่ามา ก็เอามาเทียบตามค่าดังนี้ครับ 
 - ต่ำกว่า 17 = ผอม กินให้เยอะกว่านี้หน่อยจะดีกว่านะ 
 - 17-18.4 = สมส่วน ทำตัวให้เหมือนเดิมอ่ะ ดีแล้ว ^ ^ 
 - 18.5-24.9 = เริ่มจะอวบ (ยังไม่อ้วนนะ) ระวังหน่อยๆ ช่วงนี้เริ่มกินเยอะขึ้นแล้วใช่ไหมเรา? 
 - 25-29.9 = อวบระยะสุดท้ายหรืออ้วนแล้วล่ะ แต่ยังไม่ถึงกะเป็นอันตราย ให้รีบลด 
 - มากกว่า 30 = อ้วนแบบอันตรายแล้วล่ะ รีบลดด่วนๆ

และนักเรียนทำสรุปการเรียนรู้สัปดาห์
ที่ 3 


สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์






1 ความคิดเห็น:

  1. _วันจันทร์ครูและนักเรียนทุกคนพูดคุยถึงกระบวนการปลูกข้าว
    นักเรียนได้รับโจทย์จากครูไปสืบค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการทำนา
    นักเรียนแต่ละคนมีวิธีการแสวงหาแหล่งที่มาอย่างหลากหลาย เช่น หาข้อมูลในห้องสมุด สอบถามผู้รู้ อ่านจากหนังสือการทำนาที่มีอยู่แล้ว ฯลฯ Flip classroom แล้วครูยังให้โจทย์นักเรียนเตรียมชุดลำลองและหมวก ขวดน้ำมาในวันอังคาร เพื่อเตรียมดูท่อปลูกข้าวว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง?
    _นักเรียนนำข้อมูลที่ได้มาแลกเปลี่ยนกับครูและเพื่อนๆ เริ่มตั้งแต่กระบวนการเตรียมแปลงนา ต้นกล้า จนไปถึงขั้นตอนการเก็บเกี่ยว บุญคูณลาน
    คุณครูชวนนักเรียนคุยการคัดแยกเมล็ดพันธุ์
    พี่เพชร_"จากที่ผมหาข้อมูลมา ให้แชร์ข้าวไว้ประมาณ1-2 วัน แล้วนำมาตากแดด เอาไปแช่น้ำอุ่นต่ออีกประมาณครึ่งวันครับ"
    เพื่อนๆ _"ข้อมูลพวกเราคล้ายๆพี่เพชรเลยครับ/ค่ะ" เสียงเจือแจ๋วมารอบทั่ววงสนทนา
    คุณครูพานักเรียนไปช่วยกันขนเก้าอี้ที่ห้องประชุมไปเก็บที่โรงอาหาร ช่วงก่อนเรียนpbl
    ครูพานักเรียนทุกคนคัดแยกเมล็ดพันธุ์ข้าวสินเหล็ก 4 เมล็ด
    _ในสัปดาห์นี้นักเรียนได้ร่วมกันเลือกหน่วยการเรียนในภาคเรียนนี้ โดยพี่ไอดินกับพี่ออสตินช่วยดำเนินกิจกรรม จนได้ชื่อหน่วยคือ "ครัวธรรมชาติ-Natural Kitchen"
    จากนั้นนักเรียนทำ "สิ่งที่รู้แล้ว_สิ่งที่อยากเรียนรู้" โดยเริ่มจากเขียนเดี่ยวก่อน จึงจับกลุ่มละ3 คน เขียนให้ขมวดออกมาดีที่สุด
    ในวันพฤหัสฯ ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนร่วมกันจัดทำชาร์ตเพื่อติดให้ทราบถึงปฏิทินการเรียนรู้
    และออกแบบป้ายชื่อหน่วย
    _จากนั้นนักเรียนลงมือทำmind mapping(ก่อนเรียน) แล้ววัดน้ำหนักและวัดส่วนสูงเพื่อคำนวณหาค่าBMI เชื่อมโยงเข้าสู่กิจกรรมคู่ขนานของนักเรียนตามปฏิทิน
    และนักเรียนทำสรุปการเรียนรู้สัปดาห์

    ตอบลบ