เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2558 หน่วยการเรียนรู้: Natural Kitchen – ครัวธรรมชาติ
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
มีความรู้ความเข้าใจต่ออาหาร สามารถผลิตอาหารที่ปลอดภัยและกิน อยู่ อย่างมีคุณภาพ รวมทั้งสามารถออกแบบการกินของอาหารในรูปแบบของตนเอง (นวัตกรรมและการนำไปใช้ )ได้

Week 8

เป้าหมายรายสัปดาห์เข้าใจและสามารถอธิบายโครงสร้างการทำงานของร่างกายมนุษย์เปรียบเทียบกับโครงสร้างการทำงานของร่างกายปลาได้

Week
Input
Process
Output
Outcome







8
29 มิ.ย. 58
-
ก.ค. 58


โจทย์
โครงสร้างการทำงานของร่างกาย
- ผ่าตัดปลา
Key  Questions
- ในระยะเวลา เดือน   นักเรียนจะมีวิธีการถนอมอาหารประเภทเนื้อได้อย่างไร
- นักเรียนคิดว่าสารอาหารประเภทโปรตีนมีอยู่ในอาหารประเภทใด
- นักเรียนคิดว่าโครงสร้างร่างกายของมนุษย์เหมือนหรือแตกต่างจากโครงสร้างของปลาอย่างไร
เครื่องมือคิด
Show and Share
- นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการตรวจสอบสารอาหารประเภทโปรตีน และวิธีการถนอมอาหารประเภทเนื้อในรูปแบบที่หลากหลาย
- นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างโครงสร้างร่างกายมนุษย์กับโครงสร้างของปลา
Brainstorm
ระดมความคิดเกี่ยวกับกระบวนการทดสอบสารอาหารประเภทโปรตีน และวิธีการถนอมอาหารประเภทเนื้อในรูปแบบที่หลากหลาย
Round Rubin
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงสร้างร่างกาย
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- เนื้อสัตว์ประเภทต่างๆ อาทิเช่น เนื้อหมู, เนื้อปลา, เนื้อไก่ ฯลฯ
- คอมพิวเตอร์ / อินเตอร์เน็ต
- อุปกรณ์ผ่าตัดปลา
- กล้องจุลทรรศน์
- อุปกรณ์สำหรับตรวจสอบโปรตีน

วันจันทร์
ชง ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าเราจะเรียนรู้เรื่องโครงสร้างของร่างกายและระบบต่างๆ ในร่างกายของเราได้อย่างไร?
เชื่อมนักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
แบ่งกลุ่มนักเรียนศึกษาระบบโครงสร้างของปลา
วันอังคาร
- นักเรียนแต่ละกลุ่มแบ่งหน้าที่จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับทำกิจกรรมผ่าตัดปลา (ถุงมือ มีดโกน ปลาชนิดต่างๆ ปลานิล ปลาดุก ปลาช่อน)
วันพุธ
ใช้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรมผ่าตัดปลา แบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงาน คนที่ผ่าตัดปลา คนที่บันทึกผล ฯลฯ
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้โครงสร้างปลา ผ่านการเขียนแผนภาพ
- เปรียบเทียบโครงสร้างปลากับโครงสร้างร่างกายของคนเรา
วันศุกร์
เชื่อม ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับกิจกรรมผ่าตัดปลาและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน
ใช้ นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
- สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับระบบการทำงาน ส่วนต่างๆของร่างกายมนุษย์และโครงสร้างการทำงานของปลา เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับศึกษาในกิจกรรมผ่าตัดปลา
เตรียมอุปกรณ์สำหรับร่วมกิจกรรม “ผ่าตัดปลา”
- ผ่าตัดปลา

ชิ้นงาน
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- สรุปสิ่งที่เรียนรู้จากกิจกรรมผ่าตัดปลาและผลการตรวจสอบโปรตีนในเนื้อปลา ในรูปแบบที่ตนเองสนใจ อาทิเช่น ชาร์ต, Mind Mapping, การ์ตูนช่อง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายโครงสร้างการทำงานของร่างกายมนุษย์เปรียบเทียบกับโครงสร้างการทำงานของร่างกายปลาได้

ทักษะ
ทักษะICT
สืบค้นข้อมูลและการเปรียบเทียบโครงสร้างของร่างกายมนุษย์กับปลา ร่วมถึงกระบวนการตรวจสอบโปรตีนจากเนื้อปลา
ทักษะการสื่อสาร
นำเสนอชิ้นงานเกี่ยวกับการแยกประเภทขอสารอาหารที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนในการทำงานกลุ่มเกี่ยวกับวิธีการสืบค้นข้อมูลและการเปรียบเทียบโครงสร้างของร่างกายมนุษย์กับปลา ร่วมถึงกระบวนการตรวจสอบโปรตีนจากเนื้อปลา
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องเกี่ยวกับการแยกประเภทขอสารอาหารที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- การเลือกใช้เครื่องมือคิดที่หลากหลายในกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อวิเคราะห์สารอาหารประเภทโปรตีนและระบบโครงสร้างร่างกายของมนุษย์กับปลา
ทักษะชีวิต
-สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงระบบโครงสร้างร่างกายของมนุษย์กับระบบการทำงานของปลาได้
-สามารถวิเคราะห์ผลการทดลองเกี่ยวกับสารอาหารประเภทโปรตีนที่อยู่ในเนื้อปลาได้
คุณลักษณะ
สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากกระบวนการทดลองในรูปแบบที่ตนเองสนใจ อาทิเช่น ชาร์ต, Mind Mapping, การ์ตูนช่อง
 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


ภาพกิจกรรมหลังการเรียนรู้

_เริ่มต้นของสัปดาห์นี้นักเรียนได้เรียนเกี่ยวกับโครงสร้างโมเลกุล โดยเชิญคุณครูน้ำผึ้งมาเป็นวิทยากร
ทุกคนได้ศึกษาข้อมูลพันธะโมเลกุลและโครงสร้างโมเลกุล แล้วนำข้อมูลมาจัดกระทำสร้างความเข้าใจในข้อมูลให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย ทุกมาร่วมกันวิเคราะห์พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ได้มา
ในชั่วโมงต่อมาก็เลยง่ายมากขึ้นที่ครูน้ำผึ้งมาสอนเรื่องดังกล่าวต่ออีกในวันอังคาร
นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้เก็บไว้ในกระดาษA4 แต่กิจกรรมยังไม่จบลงเพราะเป็นเนื้อหาที่ยาว ก็เลยต้องให้ครูน้ำผึ้งมาสอนอีกในชั่วโมงบ่ายวันพฤหัสฯ เกี่ยวกับพันธะเคมี
_ต้นสัปดาห์เด็กๆนักเรียนหญิงชายต่างตกใจที่ได้เห็นสายสีขาว มีไข่นวบสีดำเป็นระยะๆ เป็นสายโยงทั่วท้องนานั้น ครูไม่ได้เฉลยว่าคืออะไร?
ทุกคนเรียนรู้อยากหาคำตอบ ก็เลยช่วยกันหาข้อมูลมาสรุปแล้วก็คือ..'ไข่คางคก'
หลายคนตกใจ ไม่กล้าลงแปลงนาเลย ครูจึงเป็นผู้อาสาพานักเรียนลงนาย้านต้นข้าวอีกครั้งและยังเติมน้ำเต็มแปลงนา

แต่เนื่องจากแปลงนามีน้ำเยอะเกินไปจึงต้องระบายน้ำออกจากแปลงนา เพื่อให้พอเหมาะข้าวจะได้แตกกอ






แบะนักเรียนและครูร่วมพูดคุยถึงความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการทำนาในสัปดาห์นี้

_pblคู่ขนาน "ปลูกข้าว 4 เมล็ด ให้ได้ 2,000 เมล็ด"
ข้าวของทุกคน 16 ท่อ ข้าวสมบูรณ์มากๆและแตกกอเกินครึ่งแล้ว ส่วนข้าวอีก 3 ท่อ คือ พี่ไอดิน, พี่ปุณ, พี่อังๆ  ข้าวยังไม่ขึ้น 4 เมล็ด ก็เลยพากันแก้ปัญหาไปย้ายเอาต้นกลัาที่ขึ้นติดๆกันในแปลงนามาใส่เพิ่มอีกให้ทั่วท่อปลูก และเพื่อนๆช่วยกันเติมน้ำในแต่ละท่อ / วัดขนาดความสูงของต้นข้าว กำจัดวัชพืชบริเวณที่ปลูก / พรวนดิน ใส่ปุ๋ย ตามความเหมาะสม




มีพี่ปังปอนด์ตัดใบของต้นข้าวออก เพื่อนๆในชั้นต่างสงสัยว่าทำไม?
พี่ปังปอนด์บอกทุกคนว่าเคยเห็นทางบ้านพาทำนา ต้องตัดปลายต้นกล้าออกเพื่อให้ข้าวแตกกอเร็วและไม่ให้สารอาหารไปเลี้ยงที่ใบมากเกินไป

_ในทั้งสองส่วนเกี่ยวกับการทำนาและท่อปลูกข้าว เด็กๆได้เขียนสรุปความรู้ความเข้าใจลงในกระดาษA4 เขียนเล่ากระบวนการและบอกขั้นตอนทุกอย่างที่เกิดขึ้นหลังจากที่เด็กๆและครูร่วมกันโยนต้นกล้าลงแปลงนาและใส่ปุ๋ยย้ายต้นกล้าให้ทั่วบริเวณในแต่ละสัปดาห์ที่ผ่านๆมา
ปัญหาที่เด็กๆนักเรียนแต่ละคนพบเจออะไรบ้าง?
แก้ปัญหานั้นอย่างไร?
ได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเรียนรู้เรื่องข้าวที่ผ่านๆมา จะนำอะไรไปปรับใช้ได้บ้าง?

_ส่วนบันทึกการกินในสัปดาห์นี้ ครูได้พาเด็กๆพูดคุยถึงความอ้วน/ผอม 
จากเกณฑ์กำหนดไว้เมื่อเทียบค่าร่างกายจากตารางวัดค่าดัชนี้มวลร่างกาย
จากนั้นยังนำสิ่งที่ได้จากค่าพลังงานจากสารอาหารและครูให้โจทย์นักเรียนหาขัอมูล'สมบัติของน้ำ' โดยนำข้อมูลที่ได้มาจัดกระทำลงในสมุดและนำเสนอความเข้าใจให้กันฟัง

_ก่อนที่นักเรียนจะได้สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์นี้ ครูอ้อยกับครูอาร์ทมาช่วยร่วมกันสร้างการเรียนรู้ให้เด็กๆ ม.1


ประมาณครึ่งชั่วโมงเกี่ยวกับวิชาการเกษตร(การตอนกิ่ง).

สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

1 ความคิดเห็น:

  1. _เริ่มต้นของสัปดาห์นี้นักเรียนได้เรียนเกี่ยวกับโครงสร้างโมเลกุล โดยเชิญคุณครูน้ำผึ้งมาเป็นวิทยากร
    ทุกคนได้ศึกษาข้อมูลพันธะโมเลกุลและโครงสร้างโมเลกุล แล้วนำข้อมูลมาจัดกระทำสร้างความเข้าใจในข้อมูลให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย ทุกมาร่วมกันวิเคราะห์พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ได้มา
    ในชั่วโมงต่อมาก็เลยง่ายมากขึ้นที่ครูน้ำผึ้งมาสอนเรื่องดังกล่าวต่ออีกในวันอังคาร

    นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้เก็บไว้ในกระดาษA4 แต่กิจกรรมยังไม่จบลงเพราะเป็นเนื้อหาที่ยาว ก็เลยต้องให้ครูน้ำผึ้งมาสอนอีกในชั่วโมงบ่ายวันพฤหัสฯ เกี่ยวกับพันธะเคมี

    _ต้นสัปดาห์เด็กๆนักเรียนหญิงชายต่างตกใจที่ได้เห็นสายสีขาว มีไข่นวบสีดำเป็นระยะๆ เป็นสายโยงทั่วท้องนานั้น ครูไม่ได้เฉลยว่าคืออะไร?
    ทุกคนเรียนรู้อยากหาคำตอบ ก็เลยช่วยกันหาข้อมูลมาสรุปแล้วก็คือ..'ไข่คางคก'
    หลายคนตกใจ ไม่กล้าลงแปลงนาเลย ครูจึงเป็นผู้อาสาพานักเรียนลงนาย้านต้นข้าวอีกครั้งและยังเติมน้ำเต็มแปลงนา
    แต่เนื่องจากแปลงนามีน้ำเยอะเกินไปจึงต้องระบายน้ำออกจากแปลงนา เพื่อให้พอเหมาะข้าวจะได้แตกกอ
    แบะนักเรียนและครูร่วมพูดคุยถึงความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการทำนาในสัปดาห์นี้

    _pblคู่ขนาน "ปลูกข้าว 4 เมล็ด ให้ได้ 2,000 เมล็ด"
    ข้าวของทุกคน 16 ท่อ ข้าวสมบูรณ์มากๆและแตกกอเกินครึ่งแล้ว ส่วนข้าวอีก 3 ท่อ คือ พี่ไอดิน, พี่ปุณ, พี่อังๆ ข้าวยังไม่ขึ้น 4 เมล็ด ก็เลยพากันแก้ปัญหาไปย้ายเอาต้นกลัาที่ขึ้นติดๆกันในแปลงนามาใส่เพิ่มอีกให้ทั่วท่อปลูก และเพื่อนๆช่วยกันเติมน้ำในแต่ละท่อ / วัดขนาดความสูงของต้นข้าว กำจัดวัชพืชบริเวณที่ปลูก / พรวนดิน ใส่ปุ๋ย ตามความเหมาะสม
    มีพี่ปังปอนด์ตัดใบของต้นข้าวออก เพื่อนๆในชั้นต่างสงสัยว่าทำไม?
    พี่ปังปอนด์บอกทุกคนว่าเคยเห็นทางบ้านพาทำนา ต้องตัดปลายต้นกล้าออกเพื่อให้ข้าวแตกกอเร็วและไม่ให้สารอาหารไปเลี้ยงที่ใบมากเกินไป

    _ในทั้งสองส่วนเกี่ยวกับการทำนาและท่อปลูกข้าว เด็กๆได้เขียนสรุปความรู้ความเข้าใจลงในกระดาษA4 เขียนเล่ากระบวนการและบอกขั้นตอนทุกอย่างที่เกิดขึ้นหลังจากที่เด็กๆและครูร่วมกันโยนต้นกล้าลงแปลงนาและใส่ปุ๋ยย้ายต้นกล้าให้ทั่วบริเวณในแต่ละสัปดาห์ที่ผ่านๆมา
    ปัญหาที่เด็กๆนักเรียนแต่ละคนพบเจออะไรบ้าง?
    แก้ปัญหานั้นอย่างไร?
    ได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเรียนรู้เรื่องข้าวที่ผ่านๆมา จะนำอะไรไปปรับใช้ได้บ้าง?

    _ส่วนบันทึกการกินในสัปดาห์นี้ ครูได้พาเด็กๆพูดคุยถึงความอ้วน/ผอม
    จากเกณฑ์กำหนดไว้เมื่อเทียบค่าร่างกายจากตารางวัดค่าดัชนี้มวลร่างกาย
    จากนั้นยังนำสิ่งที่ได้จากค่าพลังงานจากสารอาหารและครูให้โจทย์นักเรียนหาขัอมูล'สมบัติของน้ำ' โดยนำข้อมูลที่ได้มาจัดกระทำลงในสมุดและนำเสนอความเข้าใจให้กันฟัง

    _ก่อนที่นักเรียนจะได้สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์นี้ ครูอ้อยกับครูอาร์ทมาช่วยร่วมกันสร้างการเรียนรู้ให้เด็กๆ ม.1 ประมาณครึ่งชั่วโมงเกี่ยวกับวิชาการเกษตร(การตอนกิ่ง).

    ตอบลบ